จุดเริ่มต้นและความฝัน เพื่อชุมชนและความยั่งยืน
เมื่อสมัยที่คุณวรรณกนกยังทำงานประจำ เธอมักฝันถึงการมีอะไรสักอย่างเป็นของตัวเอง โดยทุกครั้งที่คุณวรรณกนกออกไปเที่ยว เธอมักจะกลับบ้านมาพร้อมกับแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์และต่อยอดผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดที่เธอเจอระหว่างทางเสมอ บวกกับแรงบันดาลใจที่ได้รับจากผู้ประกอบการหญิงรายย่อยท่านหนึ่งที่เธอมีโอกาสได้ร่วมงานด้วยครั้งที่ทำงานประจำ ทำให้คุณวรรณกนกตัดสินใจก้าวออกมาเปิดกิจการของตัวเองภายใต้ชื่อแบรนด์ Wanasu Style ที่มอบคุณค่าแก่ชุมชนและยึดหลักความยั่งยืนอย่างเต็มเปี่ยม
ปัจจุบันร้าน Wanasu Style ได้จ้างกลุ่มแม่บ้านในชุมชนมาช่วยกันประดิษฐ์เสื้อผ้าและเครื่องประดับทำมือหลากหลายชนิดอันเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ ซึ่งสร้างได้รายได้เสริมเดือนละกว่า 5,000 บาทต่อคน และสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้กว่า 10-15 ครัวเรือน นับว่าเป็นหัวใจหลักในการดำเนินกิจการของคุณวรรณกนกและร้าน Wanasu Style ที่อยากจะสนับสนุนและเติมพลังให้กับกลุ่มผู้หญิงในชุมชน
ตั้งรับและปรับตัวกับโควิด-19
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก ทำให้การเข้าถึงวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ของร้าน Wanasu Style ต้องหยุดชะงัก หนำซ้ำความไม่แน่นอนของวิกฤตเศรษฐกิจยิ่งสร้างความกังวลใจในกลุ่มผู้บริโภค เพราะหลายคนเริ่มจำกัดการใช้เงินกับสินค้าแฟชั่น และลูกค้าประจำของร้าน Wanasu Style ก็ลดลงไปจากแต่ก่อนเนื่องจากกลัวความไม่แน่นอนของอนาคต
ความคิดแรกของคุณวรรณกนก คือ ความเป็นห่วงพนักงานที่ร้าน รวมถึงครอบครัวที่พวกเธอต้องดูแล ด้วยความตั้งใจที่จะดำเนินกิจการผลักดันผู้หญิงและสร้างอาชีพให้กับพวกเขา คุณวรรณกนกจึงตระหนักได้ทันทีว่า เธอต้องลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนและปรับตัวธุรกิจให้เร็วที่สุด
ร้าน Wanasu Style จึงพลิกโฉมผลิตภัณฑ์และบริการขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยคุณวรรณกนกปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับเทรนด์มินิมอลที่กำลังเป็นกระแส รวมไปถึงการมอบบริการที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตามแบบที่บริษัทใหญ่ ๆ นิยมทำกัน เพื่อรับมือวิกฤตโรคระบาด นอกจากนี้ร้าน Wanasu Style ยังเริ่มผลิตหน้ากากผ้า โดยคุณวรรณกนกเล่าว่า “พวกเรามีความสามารถในการเย็บผ้ากันอยู่แล้ว การเห็นราคาหน้ากากตามท้องตลาดพุ่งสูงขึ้น ทำให้เราอยากสร้างสรรค์และส่งต่อผลิตภัณฑ์ในราคาที่จับต้องได้”
รอดพ้นและเติบโตกับ Boost with Facebook
ความตั้งใจที่จะต่อยอดและปรับตัวของคุณวรรณกนกทำให้ร้าน Wanasu Style ฝ่าวิกฤตครั้งนี้มาได้ แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในหัวใจหลักที่ช่วยให้ร้าน Wanasu Style ไม่ใช่แค่อยู่รอดแต่สามารถเติบโตขึ้นมาได้ คือ โครงการ Boost with Facebook การอบรมการตลาดออนไลน์
โควิด-19 ทำให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าไม่สามารถเปิดหน้าร้านได้ตามปกติ ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดออนไลน์พุ่งสูงขึ้นจนกลายเป็นการเป็นความท้าทายใหม่ที่พวกเขาต้องเผชิญ แต่ด้วยเคล็ดลับและทักษะการตลาดออนไลน์จาก Boost with Facebook ทำให้คุณวรรณกนกเรียนรู้และปรับใช้เทคนิคในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าบน Facebook ได้ในที่สุด
“Boost with Facebook ช่วยธุรกิจเราไว้ได้มาก ก่อนหน้านี้เราจะแค่โพสต์อะไรนิด ๆ หน่อย ๆ บน Facebook กับ Instagram โดยไม่ได้ลงลึกเรื่องกลยุทธ์หรือความต้องการของลูกค้าอย่างจริงจัง แต่ตอนนี้โพสต์ของเราเป็นระบบมากขึ้น ดึงดูดสายตาลูกค้ามากขึ้น และมียอดการแชร์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่พร้อมซื้อสินค้าของเราผ่านข้อมูลเชิงลึกในเพจ ทำให้เราเริ่มหันมาสนใจการทำเสื้อผ้ากับหน้ากากพลัสไซต์ ซึ่งช่วยให้เราได้ขยายกลุ่มลูกค้าของเรา อีกทั้งเทคนิคการกระตุ้นลูกค้าเก่า (retargeting) ยังสามารถช่วยเรียกลูกค้าที่หายหน้าหายตาไปถึงสิบปีให้กลับมาซื้อกับเราใหม่ได้อีกด้วย”
คุณวรรณกนกใช้ความรู้ในการทำ Facebook เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารธุรกิจของเธอให้ดีขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนมาก เพราะการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ากว่า 80 – 90% อยู่บน Facebook Messenger ซึ่งต่อยอดสู่การซื้อขาย รวมถึงระบบการชำระเงินผ่าน Facebook ที่ทำให้การซื้อสินค้าสะดวกสบายยิ่งกว่าเดิม ส่งผลให้ปัจจุบันร้าน Wanasu Style มีลูกค้ามากมายมาอุดหนุนจากทั่วประเทศ
เดินหน้าสู่อนาคต
จากการอบรม Boost with Facebook คุณวรรณกนกเชื่อว่า กลุ่มผู้หญิงที่ร่วมงานกับเธอมีอุปกรณ์ครบมือที่จะพร้อมเผชิญอุปสรรคในวันข้างหน้า แม้จะทรุดตัวจากวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ แต่ความกล้า การปรับตัว ความสามัคคีของชุมชน รวมถึงจิตสาธารณะของร้าน Wanasu Style และคุณวรรณกนกจะเป็นเครื่องการันตีได้ว่ายังมีอนาคตที่สดใสรอพวกเขาอยู่อย่างแน่นอน