หากเราตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทย และเราถามคนทั้งหมดหกคน เราก็จะได้รับฟังความคิดเห็นแตกต่างกันไป หลายๆคนก็มีความคิดเห็นอย่างชัดเจนว่าการศึกษาไทยคืออุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งประเทศให้ไม่สามารถก้าวสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” และพัฒนาได้อย่างที่ควรจะเป็น ถึงกระนั้นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นตรงกันก็คือ ถึงเวลาแล้วที่ต้องพัฒนาการศึกษาไทย โดยเฉพาะด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) และต้องพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ให้เกิดขึ้นกับครูและนักเรียนให้ได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากเย็นเพียงใดก็ตาม
การปรับเปลี่ยนการศึกษาไทยเป็นเรื่องยาก ในขณะที่มีความคิดเห็นมากมายเกิดขึ้นตามสื่อต่างๆตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยความหวังเดียวกันที่อยากเห็นการศึกษาไทยเดินหน้า แต่บางครั้งเราอาจลืมนึกถึงส่วนสำคัญที่สุด นั่นก็คือ “ครู” ผู้ประสิทธิ์ ประสาท วิชาความรู้ และช่วยผลักดันผลสำเร็จให้เกิดขึ้นกับเด็กไทยในวันข้างหน้า
อย่างไรก็ดีหากเราได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพครู เด็กไทยก็จะได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 และช่วยให้นักเรียนมีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเข้าใจได้ว่า ครูซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยต่างก็ยังถูกละเลย เพราะไม่มีใครที่จะเข้าถึงนักเรียนได้มากไปกว่าครู ครูที่มีความกระตือรือร้นในการสอน และเข้าใจวิธีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ย่อมสร้างให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดียิ่งขึ้น
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพครู เพื่อที่ครูจะได้พัฒนานักเรียนไทยยุคใหม่ให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีความรู้สะเต็มศึกษา และสามารถนำพาประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ครูต้องมีความมั่นใจและมีความเชี่ยวชาญในการนำรูปแบบการสอนโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐาน มาใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดในห้องเรียน
การเรียนรู้แบบท่องจำยังคงเป็นวิธีการสอนที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทย หากแต่รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ขั้นสูง (high-impact teaching practices) จะส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะนำความรู้มาปรับใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry-based science) เป็นต้น โดยครูจะเป็นผู้ตั้งคำถามหรือถามปัญหาแก่นักเรียน แทนที่จะให้คำตอบแก่นักเรียนโดยตรง นักเรียนจะได้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำการทดลอง และคิดตั้งสมมติฐาน ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนอาจผสมผสานเทคนิคอื่นๆเข้าไปด้วย แต่หลักพื้นฐานสำคัญจะคงอยู่เช่นเดิม เช่น นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ฝึกแก้ไขปัญหาและหาคำตอบด้วยตนเอง โดยครูจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ และชี้แนะวิธิคิดไปพร้อมกันๆ
การพัฒนาครูให้มีคุณภาพไม่ใช่เรื่องง่าย และด้วยครูต้องรับผิดชอบสอนให้นักเรียนสามารถทำคะแนนข้อสอบ O-Net ให้ได้ดี จึงทำให้ครูต้องสอนให้ครบเนื้อหาทั้งหมดที่กระทรวงฯ กำหนดมาภายใต้ระยะเวลาที่มีจำกัด ด้วยเหตุนี้ครูหลายท่านจึงเน้นวิธีการเรียนการสอนแบบท่องจำ โดยเฉพาะการเน้นท่องจำคำตอบเพื่อใช้ในการสอบ O-Net เป็นหลัก
อย่างไรก็ดี โครงการพัฒนาวิชาชีพครู จะช่วยให้ครูไทยได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ขั้นสูง (high-impact teaching) เช่น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry-based science) เป็นต้น มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ เชฟรอน สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ได้จัดทำการประเมินผลโครงการพัฒนาวิชาชีพครู และได้รับผลลัพธ์ที่ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง โดยพบว่าครูกว่าร้อยละ 99 ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้นำวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ไปใช้จริงในห้องเรียน และวิธีการเรียนรู้ ฯ ลักษณะนี้ ก็ทำให้นักเรียนอีกกว่าร้อยละ 92 ให้การยอมรับว่าพวกเขาได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น และนักเรียนอีกกว่าร้อยละ 80 ก็มีความเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่ม จึงทำให้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า วิธีการสอนแบบที่ครูอ่านเนื้อหาจากตำราให้นักเรียนฟังเพื่อจดจำคำตอบ ไม่ใช่รูปแบบที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปสำหรับการศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาไทยย่อมเกิดขึ้นได้จริง หากวันนี้ เรามาช่วยกันสนับสนุนให้ครูไทยได้รับโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และต่อยอดสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นในโรงเรียน
ติดต่อหาเรา หากคุณต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างครู เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยไปด้วยกัน