สิ่งหนึ่งที่นับเป็นความโชคดีจากงานที่ผมทำคือ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน ไปจนถึงหารือร่วมกับรัฐมนตรีหลายๆท่าน เกี่ยวกับความจำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในประเทศไทย เพื่อสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และเตรียมความพร้อมให้กับเด็กไทยก้าวเป็นแรงงานที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ดี ก็มีหลายๆบทสนทนาที่มักกล่าวถึงระบบการศึกษาไทย และดูเหมือนว่าจะเป็นความเชื่อที่ฝังรากอยู่ในใจของใครหลายๆคน ผมจึงรวบรวมความเชื่อทั้ง 5 ประการที่ได้รับฟังมา รวมถึงข้อเท็จจริงที่จะเป็นกุญแจช่วยไขประเด็นต่างๆให้มีความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น
อันดับ 5 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ
ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ โดยจัดสรรงบประมาณถึง 4 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หรือประมาณ 20% ของงบประมาณแผ่นดินประจำปีเพื่อการพัฒนาระบบการศึกษาของรัฐ ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงทุนด้านการศึกษาสูงมาก หากแต่งบประมาณถูกนำไปใช้อย่างไรก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อันดับ 4 รัฐบาลไทยไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพและระบบการศึกษาอย่างเต็มที่
ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลไทยตั้งใจปฏิรูประบบการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สร้างแรงงานศักยภาพสูงเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” รวมทั้งสร้างเด็กไทยให้เป็น “Smart Students” ที่พร้อมทางด้านทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถเชื่อมโยง ประยุกต์ทักษะความรู้ที่ได้รับเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง
อันดับ 3 รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมฝึกอบรมครู และจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูอย่างเพียงพอ
ข้อเท็จจริงคือ ผลจากงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบพบว่า ระบบการฝึกอบรมครูของไทยยังต้องการการพัฒนาในเรื่องกระบวนการสอนและวิธีการให้เกิดความหลากหลาย ในปีที่ผ่านมาครูผู้สอนจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อฝึกอบรมเพียง 10,000 บาทต่อคนเท่านั้น แม้ว่าครูบางส่วนได้โอกาสร่วมโครงการต่างๆ หรือได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน แต่ก็จำกัดอยู่เฉพาะบางกลุ่ม ยังมีครูอีกจำนวนมากที่ต้องการการพัฒนาด้านทักษะและวิชาชีพ ครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ยังคงขาดโอกาสเข้าถึงความรู้ และทักษะการสอนใหม่ๆ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งยังขาดผู้ที่คอยให้คำปรึกษาหรือครูพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในการสอน
อันดับ 2 บางคนเชื่อว่าครูอาชีวศึกษาเป็นกลุ่มที่ยังต้องพัฒนา
ข้อเท็จจริงคือ ครูอาชีวศึกษาของไทยมีความมุ่งมั่นในการสอนและทำงานไม่น้อยไปกว่าครูในสายสามัญ หากแต่ภาคอาชีวศึกษายังคงต้องการเงินทุนเพื่อสนับสนุนทั้งในส่วนของอุปกรณ์การเรียนการสอน และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจของคีนันพบว่าครูอาชีวศึกษาจำนวนมากขาดโอกาสเข้าร่วมการอบรมหรือพัฒนาศักยภาพมาแล้วกว่าห้าปี
อันดับ 1 เงินบริจาคของภาคเอกชนคงช่วยพัฒนาคุณภาพศึกษาได้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการมอบอุปกรณ์การศึกษา แท็บเล็ตหรือทุนการศึกษา
ข้อเท็จจริงก็คือ การพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาด้วยเงินบริจาคจากภาคเอกชนเป็นเรื่องที่ทำได้ เพียงแต่ต้องพิจารณาเลือกจัดสรรเงินหรือทรัพยากรดังกล่าวให้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจหลักปฎิบัติที่ถูกต้อง เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีความซับซ้อนและมีข้อจำกัดหลายด้าน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการสนับสนุนจากภาคเอกชนจะสร้างผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทการศึกษาไทย มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียทำงานด้านพัฒนาการศึกษา โดยมุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) อย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคีนันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนไม่ว่ามูลค่ามากหรือน้อยก็สามารถนำมาบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษาศึกษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่านสามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมถึงวิธีการทำงานของเรา
โปรดติดต่อเราโดยกรอกรายละเอียดด้านล่างนี้ หากองค์กรของท่านประสงค์ที่จะช่วยให้ครูไทยได้เดินหน้าพัฒนาการศึกษาไทยไปด้วยกัน