Small business stories (TH), Uncategorized @th

เมื่อเห็นตนเองออมเงินได้ ความสุขก็ไม่มีวันสิ้นสุด

ม.ค. 26,2023

เรื่องราวของบุรุษผู้เปลี่ยนแปลงชุมชนด้วยการให้ความรู้ด้านการเงิน

ทุกๆคืนก่อนนอนแม้จะเหนื่อยล้าเพียงใด คุณ ธรรมศักดิ์ในวัย 43 ปีผู้นี้ ก็ไม่เคยหยุดทบทวนงานในแต่ละวันและจดบันทึกรายการต่างๆลงบนสมุดทึกเสมอ“ตอนแรกเลย ผมตอบตามตรงว่ารู้สึกขี้เกียจ” คุณธรรมศักดิ์เล่าไปพร้อมเปิดสมุดแต่ละหน้าให้กับทีมงานของคีนันได้ดู ถึงรายการจดบันทึกต่างๆในสมุดงานเล่มนี้ ซึ่งมีทั้งรายการรายรับ รายจ่าย รวมถึงแผนธุรกิจที่เขียนร่างไว้ “ตอนนี้ทุกๆอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจริงๆ”จากนั้น คุณธรรมศักดิ์ก็หยิบเอาสมุดและเอกสารอื่นๆใส่แฟ้มและเดินเข้าไปยังชุมชน พร้อมส่งรอยยิ้มทักทายให้กับสมาชิกคนอื่นๆ อย่างเป็นกันเองณ ชุมชนคลองลัดภาชี กรุงเทพฯ มีสมาชิกอยู่กว่า 320 คน จาก 70 ครัวเรือน ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ให้การสนับสนุนชุมชนในการสร้างที่อยู่อาศัยสมาชิกชุมชนคลองลัดภาชี หลายๆคนเป็นแรงงานรายวัน ขายสินค้าตามริมถนนต่างๆ รวมถึงรับจ้างและเป็นพนักงานอัตราจ้าง ที่ได้รับค่าตอบแทนค่อนข้างน้อย และมีรายได้ที่ไม่แน่นอน และเหลือเงินสำหรับการออมและเผื่อใช้ยามฉุกเฉินเพียงเล็กน้อย ซึ่งอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันก็อาจส่งผลให้แต่ละครอบครัวประสบปัญหาเป็นหนี้เป็นสินก้อนโต

บางคนได้ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชน หลังต้องเสียบ้านหลังเก่าไปด้วยสาเหตุแตกต่างกันไป นอกจากนี้สมาชิกชาวบ้านคนอื่น ๆ ก็ได้เล่าให้ฟังสั้น ๆ ถึงวิธีเอาตัวรอดในแต่ละเดือนซึ่งก็ไม่พ้นการต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งก็เกิดจากสถานการณ์อันยากลำบากในชีวิตที่ต้องยอมเสียดอกเบี้ยถึงร้อยละ 20 ต่อเดือน

*คุณป้าสมศรี คำศรี สมาชิกชุมชนลูกบ้านคุณธรรมศักดิ์ได้เล่าให้ฟังว่า “นายทุนจะมาดักรอ ลูกหนี้ทุกวันในตลาด” “เราต่างรู้สึกแย่มาก ที่ต้องเกิดมาพบกับความยากลำบากเช่นนี้”
สำหรับแรงงานไทย ความรู้ทางการเงินถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ชีวิตได้พบกับอิสรภาพทางการเงิน

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย จึงได้เริ่มจัดฝึกอบรมให้ความรู้ทางการเงินสำหรับชุมชนที่มความอ่อนแอ ด้านการเงินในกรุงเทพฯ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมปีพ. ศ. 2559 เป็นต้นมา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิซิตี้ประเทศไทย ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จในการฝึกอบรมให้กับ สมาชิก528 คนในชุมชนในปีแรก โครงการฯก็ได้รับการขยายไปสู่งกลุ่มเป้าหมายกว่า 1,120 คน ในปีที่ผ่านมา

หนี้ครัวเรือนถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับประเทศไทย โดยรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าหนี้ภาคครัวเรือนของประเทศมีมูลค่าทั้งสิ้นถึง 11.24 ล้านล้านบาทหรือประมาณ 81.3 เปร์เซ็นต์ ต่อ GDP ในปีพ. ศ. 2560 ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็ได้รายงานเพิ่มเติมว่า สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ย สูงถึง 82.7 เปอร์เซ็นต์ในปีพ. ศ. 2558 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 94.7 เปอร์เซ็นต์ในปีพ. ศ. 2560 ที่ผ่านมา

ขณะที่รัฐบาลไทยดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยตระหนักถึง ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์จากภาระหนี้สิน และช่วยเหลือด้วยการประนีประนอมหนี้สิน ในหลายๆโครงการ แต่ก็ยังขาดการมุ่งเน้นการให้ความรู้ทางการเงินหรือส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว ซึ่งจะทำให้แต่ละบุคคล เกิดความรู้สึกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

หลังจากที่ได้เรียนรู้การบริหารจัดการเงินและนำมาปรับใช้ในการจัดทำงบประมาณครัวเรือนและธุรกิจของตนเอง คุณธรรมศักดิ์ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือชุมชนของตน ให้ค้นพบหนทาง หลุดออกจากภาระหนี้สิน และรู้จักออมเงินให้มากขึ้น เช่น ออมเผื่อไว้ใช้สำหรับการศึกษาของบุตร และเตรียมพร้อมไว้ใช้ยามเกษียณอายุ จากผู้เข้าร่วมโครงการฯ กว่าพันคน คุณธรรมศักดิ์ถือเป็นหนึ่งในหกสิบคนที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำในการส่งต่อความรู้

ทางการเงินเองให้กับสมาชิกคนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชน คุณธรรมศักดิ์จึงมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก ในการก้าวเข้าสู่บทบาทสำคัญครั้งนี้

“เมื่อผมยังเป็นเด็กผมเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน” คุณศักดิ์เริ่มเล่า “ตอนนี้ผมมีบ้านและรถเป็นของตัวเองแล้วหัวใจของผมจึงผูกพันธ์อยู่กับชุมชนแห่งนี้” “ผมจึงอยากเห็นทุกคนมีความสุขครับ”

คุณธรรมศักดิ์ยอมรับว่า ในตอนแรกก็ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นกับโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้าง ความมั่นคงทางการเงินเท่าไหร่นัก ซึ่งโครงการฯนี้ได้รับทุนงบประมาณสนับสนุนจาก มูลนิธิซิตี้ และดำเนินโครงการโดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย

“ขอยอมรับเลยว่า มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐเคยเข้ามาดูแลเรา และสอนเราเรื่องวางแผนการเงินครัวเรือนมาแล้ว” คุณธรรมศักดิ์ เล่าต่อว่า “จริงๆทีมก่อนหน้านี้ก็มีความตั้งใจดีครับ เพียงแต่มีวิธีการสอนและการนำเสนอโครงการยังไม่จับใจ และไม่ค่อยสนุก”

“แต่คีนันสอนเราในแบบที่แตกต่างกันออกไปครับ ซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์ในชีวิตจริงเลย ตัวอย่างเช่น การนำเสนอ “happy family game” ได้ช่วยให้เรามองเห็นการเรียนรู้ ผ่านการใช้งานโปรแกรมการเงินจริงๆ แล้วคีนันก็กลับมาตรวจตราอีกครั้งว่า พวกเราสามารถเพิ่มการออมเงินได้จริงหรือไม่”

เป้าหมายแรกสุดของคุณธรรมศักดิ์ ก็คือการจ่ายเงินดาวน์ค่ารถ 180,000 บาทให้ได้

คุณธรรมศักดิ์ชี้ไปที่หลักฐานแห่งความสำเร็จของเขา จอดอยู่บนถนนคอนกรีตซีเมนต์ในชุมชน เป็นรถกระบะ Isuzu สีขาว พร้อมด้วยพระพุทธรูปวางอยู่หน้ารถ และยังมีสร้อยคอจี้ทองรูปพระมหากษัตริย์ติดไว้ที่กระจกมองหลัง ซึ่งคุณธรรมศักดิ์ เอามาไว้บูชาในรถเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในความภาคภูมิใจครั้งนี้

ในฐานะที่คุณธรรมศักดิ์ ถือเป็นเจ้าของและผู้จัดการธุรกิจของสหกรณ์จำหน่ายน้ำพริก ซึ่งเกิดจากการทำงานของคนในชุมชน คุณธรรมศักดิ์ จึงได้ใช้รถคันนี้ขับไปส่งสินค้าตามตลาดต่างๆ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้

* เมื่อธุรกิจต้องเผชิญเส้นทางทางขรุขระบ้าง คุณธรรมศักดิ์ก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษคือ กู้ยืมเงินจากบัญชีออมของตัวเอง และกำหนดระยะเวลาชำระเงินให้กับตัวเอง ปฎิบัติด้วยหลักการเช่นเดียวกับการขอกู้ยืมเงินจากธนาคาร
การรักษาวินัยทางบัญชี ได้ส่งผลอย่างมากต่องานของสหกรณ์ชุมชน ให้เหลือผลกำไรที่ชัดเจนสามารถวางแผนนำไปต่อยอดขยายกิจการให้ดียิ่งๆขึ้นไป

การลงทุนที่เห็นได้ชัดก็คือ การนำเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการ บดพริก ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลา และทำให้แรงงาน เหลือเวลาทำงานงานด้านอื่นๆ รวมทั้ง กระบวนการผลิตภายในห้องควบคุมด้วยเครื่องจักร ก็ได้ช่วยเพิ่มสุขอนามัยให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น

เป้าหมายต่อไปก็คือการออมเงินสำหรับการเกษียณอายุของคุณธรรมศักดิ์และภรรยาให้ได้ยอดจำนวน 3.6 ล้านบาทในระยะเวลาอีก 12 ปีที่ ซึ่งคำนวณแล้ว ต้องออมเงินให้ได้ต่อเดือนเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท

นอกจากนี้ คุณธรรมศักดิ์ยังเล่าเรื่องราวน่ารักๆพร้อมสียงหัวเราะว่า “ทุกวันนี้ผมก็ยังมีข้อโต้แย้งเล็ก ๆ กับภรรยาผมบ้างบางเวลา “ภรรยามักจะถามผมว่า ทำไมผมถึงไม่ได้จดค่าใช้จ่ายเมื่อวานนี้ ผมจำเป็นต้องรู้สิ่งที่ผมกำลังใช้จ่ายเงินออกไป ต้องทำให้เป็นนิสัย เพราะภรรยาผมไม่ต้องการเสียเงินโดยไม่รู้ว่าเงินไปไหนครับ”

ในขณะที่คุณธรรมศักดิ์และภรรยาเคยใช้เงินกว่า 6,000 บาทต่อเดือนในการซื้อสลากกินแบ่งไว้ลุ้นโชค แต่ทุกวันนี้สมุดบัญชี ได้เปรียบเสมือนเครื่องเตือนใจให้ คุณธรรมศักดิ์และภรรยา รู้จักจัดหมวดหมู่รายการค่าใช้จ่าย ซึ่งแบ่งเป็นสองคอลัมน์ คือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็น คุณธรรมศักดิ์ กล่าวเสริมว่า “มันทำให้เราคิดถึงสิ่งที่เราต้องการจริงๆ ผมและภรรยาจึงตกลงกัน ลดการใช้เงินซื้อลอตเตอรี่เป็นอันดับแรกเลย”

“เมื่อผมเห็นเงินในบัญชีเพิ่มขึ้นแต่ละเดือน ผมรู้สึกมีความสุขมาก” คุณธรรมศักดิ์กล่าว “มันช่วยกระตุ้นให้ผมอยากเห็นยอดเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ”
หลังจากได้สัมผัสความรู้สึกของความสำเร็จแล้ว คุณธรรมศักดิ์ก็ยังมุ่งมั่นที่จะแบ่งปันความรู้ด้านการเงิน ให้กับสมาชิกในชุมชนคนอื่นๆ

“ผมไม่ได้ให้เป็นวัตถุหรือสิ่งของกับคนในชุมชน แต่ผมเลือกที่จะถ่ายทอดความรู้ดีๆเหล่านี้ให้แทน”

นับถึงปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่าชุมชนคลองลัดภาชีได้มีการก่อสร้างอาคารจอดรถมากขึ้น เนื่องจากสมาชิกในชุมชนสามารถออมเงินเพื่อการซื้อรถให้เป็นรางวัลกับตนเองได้ นอกจากนี้ชุมชนยังได้ขยับขยายกิจการเพื่อช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับสมาชิก โดยคุณธรรมศักดิ์ ได้ให้แรงงานมีรายได้จากการเย็บโบว์มัดผม และภรรยาของคุณธรรมศักดิ์ ก็ได้เปิดกิจการร้านทำผมขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากพลังของเงินออมในครั้งนี้

“หน้าที่สำคัญของผมก็คือ การให้ความสุขแก่สมาชิกในชุมชนทุกคนและสร้างชุมชนให้ยั่งยืน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งให้กันได้ เราจะได้รวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว และที่สำคัญก็คือ เราต้องไม่มีหนี้อีกต่อไป!

“ผมต่อสู้กับชีวิตที่ยากลำบากมายาวนาน และผมก็มีความสุขที่ได้สอนให้คนอื่นรู้จักให้ต่อสู้กับชีวิตที่ยากลำบากนั่นแหละครับ คือความสุขที่ไม่มีวันสิ้นสุด” คุณธรรมศักดิ์กล่าวปิดท้าย

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ