การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลายคนต้องต่อสู้กับวิกฤตทางการเงินและถูกบังคับให้ขายหรือปิดกิจการ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ผู้คนต้องกักตัวอยู่ที่บ้านและไม่สามารถออกไปซื้อของหรือท่องเที่ยวพักผ่อนได้ตามปกติ เมื่อมีการประกาศเคอร์ฟิวจากรัฐบาล ระบบโลจิสติกส์ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย แม้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูง จะยังมีเงินหมุนเวียนเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ได้ แต่อย่างไรก็ดี สังคมไทยก็ยังถือเป็นสังคมเกษตรกรรม โดยร้อยละ 40 ของจำนวนประชากร ทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ดังนั้นแล้วประชากรกลุ่มนี้จะสามารถปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับ “ความปกติใหม่” (New Normal) และจะกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร สิ่งนี้จึงถือเป็นความท้าทายที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตกค้างของผลผลิตทางการเกษตรและวิถีชีวิตที่ยากลำบาก
การปิดเมืองส่งผลให้เกิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสถานที่ต่าง ๆ ถูกปิดเพื่อให้ผู้คนใช้เวลาอยู่ที่บ้าน มีแนวโน้มว่าเหตุการณ์ครั้งนี้อาจจะกินระยะเวลานาน ดังนั้นแล้วหากธุรกิจขนาดเล็กมองเห็นโอกาสในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ก็ย่อมสร้างช่องทางการขายให้กับธุรกิจของตัวเอง
หากกล่าวถึงตัวอย่างสินค้าเกษตร เช่น การซื้อมังคุด ซึ่งถือเป็นผลไม้ที่เป็นที่นิยมสำหรับคนไทยหลายๆคน เพราะมีรสชาติอร่อยและหาซื้อได้ง่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดสด แต่ในช่วงระหว่างมาตรการล็อกดาวน์ พ่อค้ามังคุดจะทำอย่างไร ถ้าไม่มีช่องทางซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดสดเช่นเดิม คำตอบก็คือการขายผ่านสื่อโซเชียล ซึ่งจะกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ผู้ประกอบการจะสามารถพลิกวิกฤติให้กลายเป็นโอกาสได้อีกทางหนึ่ง
ประเทศไทยมีเกษตรกรประมาณ 10 ล้านคนที่ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในโครงการเยียวยาจากสถานการณ์โควิด 19 เกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถขายสินค้าของตนเอง ได้เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ และก็ไม่ทราบถึงวิธีการขายผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ทำให้เกษตรกรหลายคนๆจำเป็นต้องตัดสินใจทิ้งสินค้าตกค้าง และเสียโอกาสสร้างรายได้ให้กับตนเองเป็นจำนวนมาก
ในระหว่างมาตรการล็อกดาวน์ หลายองค์กรจำเป็นต้องสร้างเพจเพื่อการตลาดผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้มีพื้นที่ในการโฆษณาสินค้าและบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากเกษตรกรมีความรู้ก็จะสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของตนเองได้ และก็จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย
จากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตของประเทศไทยถูกขับเคลื่อนโดยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีมูลค่าตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอาเซียนและคิดเป็นร้อยละ 17 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ในประเทศไทย ร้อยละ 90 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์และบริการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน โดยแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้มากที่สุดคือเฟซบุ๊ก คิดเป็นร้อยละ 94 ผู้ใช้ YouTube คิดเป็นร้อยละ 94 ของประชากร และ ไลน์เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับสาม คิดเป็นร้อยละ 85 ตาม จากผลสำรวจโดย GlobalWebIndex ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียผ่านการทำงานร่วมกับเฟซบุ๊ก เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สามารถพัฒนาการทำการตลาดดิจิทัลและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยโครงการนี้จะพัฒนาผู้ฝึกสอนให้นำหลักสูตรที่มีไปปรับเป็นเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มที่ได้เข้าร่วมอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมเหล่านี้สามารถสร้างธุรกิจของตนเองให้เติบโตและมีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ความท้าทายต่อไปของคีนัน ฯ คือการนำพาเกษตรกรไทยให้มีความรู้ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และเพรียบพร้อมด้วยทักษะในการก้าวสู่โลกดิจิทัล ซึงสิ่งเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ต่อครอบครัวเกษตรกรไทย และเกิดเป็นแบบแผนให้กับชุมชนทั่วประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้และเรียนรู้ร่วมกันต่อไป
ท่านสามารถอ่านเรื่องราวการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.kenan-asia.org/small-business-competitiveness/.
บทความโดย
คุณ เอษา โชติชาครพันธุ์
ผู้จัดการอาวุโส ดูแลภาคีภาครัฐ