Education, Uncategorized @th

ครูไทยปรับตัวปรับใจอย่างไรในยุคโควิด-19

ม.ค. 26,2023

Thai studentปีครึ่งแล้วที่เราอยู่กับโควิด แรกเริ่มเราหวังว่าถ้าอดทนเพียงไม่กี่สัปดาห์ งดออกจากบ้าน เลื่อนเปิดโรงเรียน แล้วโควิดจะหายไป  แต่เมื่อสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับมุมมอง ปรับแผนการทำงาน และลองคิดใหม่ว่าหากโควิดยังอยู่กับเราไปอีกสักระยะ นักเรียน ผู้ปกครอง และครูจะต้องปรับตัวปรับใจอย่างไร เพื่อให้กระบวนการการเรียนรู้ยังดำเนินต่อไปได้ โดยไม่เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอยหรือเกิดความเครียดมากจนเกินไป

มูลนิธีคีนันแห่งเอเซียได้รับฟังปัญหาจากครูในพื้นที่ขาดโอกาสทางการศึกษาที่ไม่สามารถสอนออนไลน์ได้  และเราได้รวบรวมแนวทางการแก้ปัญหาของครูไทยและต่างประเทศเพื่อหาทางออกให้การศึกษาไทย  เราตระหนักว่าความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูในท้องถิ่นมีผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน   ท้ายที่สุดแล้ว นักเรียนไทยต้องการตัวเลือกที่หลากหลายและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่  นโยบายจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่อาจเพียงพอ ทำให้ภาคเอกชนกลายเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผ่านวิกฤตครั้งนี้

เรียนออนไลน์ หลากหลายช่องทาง

กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอช่องทางการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเรียนออนไลน์ ได้แก่ การเรียน On Air, Online, On-Demand, On-Hand และ On-Site แต่ในกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์และเครื่องมือการสอน ตัวเลือก  On-Hand   หรือการสอนผ่านใบงานและหนังสือเรียนจึงเป็นทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่ ซึ่งในบางพื้นที่ที่มีการระบาดหนักทำให้การรับ-ส่งใบงานไม่สามารถทำได้ ส่งผลให้การเรียนรู้ต้องหยุดชะงัก

จากข้อจำกัดดังกล่าว ครูไทยจึงต้องคิดค้นวิธีสอนอื่น ๆ เพื่อทดแทนการเรียนออนไลน์ เช่น สอนผ่านวิทยุ  หรือตัดต่อวิดิโอให้เป็นไฟล์เล็ก ๆ ความยาว   2 – 3 นาที ส่งให้นักเรียนหรือผู้ปกครองผ่านแอพพลิเคชันไลน์  หรือนำสื่อการสอนที่ได้มาตรฐาน เช่น คลิปการสอนของ สพฐ. หรือ  สสวท. และหนังสือเรียนต่าง ๆ รวบรวมใส่ USB drive เพื่อแจกจ่ายให้นักเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้

โลกปรับ วิธีการสอนเปลี่ยน

เมื่อย้ายมาเรียนออนไลน์หรือ   On-Hand / On-Demand สัญชาตญาณแรกของครูทั้งไทยและต่างประเทศ คือ กลับไปสอนแบบบรรยายให้นักเรียนท่องจำ  ซึ่งส่งผลเชิงลบทั้งต่อทัศนคติในการเรียนและทักษะทางสังคมของเด็ก

แนวทางการออกแบบการเรียนการสอนแบบ   Active Learning ที่เหมาะกับการเรียนแบบออนไลน์ที่สามารถทำได้ เช่น Project-based Learning,  Flipped Classroom, Problem-based Learning  โดยครูอาจประยุกต์ใช้สื่อสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน เช่น คลิปวีดิโอจากหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษา แทนการถ่ายทำและตัดต่อวีดิโอเอง เพื่อเน้นใช้เวลาของครูไปกับการติดตามสอบถามความเข้าใจของนักเรียน หรือออกแบบงานง่าย ๆ ให้นักเรียนได้ใช้เวลาเรียนรู้ผ่านการสังเกตวิเคราะห์ด้วยตนเอง

เวลาเรียนต้องยืดหยุ่น

ต่างประเทศได้ปรับตารางเรียนในช่วงโควิด มีทั้งลดจำนวนวิชาในแต่ละวัน  หรือปรับให้มีการออนไลน์พร้อมกันทั้งชั้นเรียนทีละ   15 นาทีสั้น ๆ  เช่น การสอนคณิตศาสตร์แบบ Problem-based Learning อาจเลือกโจทย์สนุก ๆ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันมาเปิดประเด็นในช่วงเช้า  ให้เวลานักเรียนคิดแก้ปัญหาเองระหว่างวัน ถ่ายรูปส่งชิ้นงานให้ครู แล้วนัดกันอีกครั้งในช่วงบ่ายหรือวันถัดไป เพื่ออภิปรายเปรียบเทียบวิธีคิดของแต่ละคน

Thai studentคิดใหม่ ประเมินใหม่

ประเทศนอร์เวย์ประกาศให้นักเรียนระดับเกรด   10   หรือมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนผ่านเลื่อนชั้นได้โดยไม่ต้องสอบในช่วงโควิด เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ต้า ในประเทศแคนาดา ประกาศเปลี่ยนจากการให้เกรด  A, B, C, D   ให้เป็นผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์เท่านั้น อีกทั้งยังมีการเขียนอธิบายสถานการณ์โควิดในทรานสคริปต์ให้เรียบร้อย โดยการยกเลิกการสอบและการให้เกรดแบบผ่าน-ไม่ผ่าน สามารถช่วยลดความเครียดให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ถือเป็นทางออกที่เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนจริงในช่วงโควิด

การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา

ครูไทยในโรงเรียนที่ขาดโอกาสเริ่มพบเด็กหลุดออกจากระบบโรงเรียนมากขึ้น  ทั้งที่ไม่มารายงานตัวตอนเปิดเทอม หรือตกหล่นไประหว่างเทอม โดยครูไม่สามารถติดต่อเด็กและผู้ปกครองได้ บางส่วนมีสาเหตุมาจากครอบครัวประสบภาวะยากจนเฉียบพลัน

ดังนั้น การเรียนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนที่หลุดออกนอกระบบชั่วคราวในระหว่างปีการศึกษาจึงเป็นทางออกสำคัญสำหรับเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาเป็นเทอมหรือปีการศึกษา นอกจากนี้การสร้างแรงจูงใจ ช่องทางและการแนะนำให้ผู้ปกครองนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบโดยไม่มีการลงโทษจะทำให้เด็กมีโอกาสกลับมาสู่ระบบการศึกษาได้ง่ายขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการศึกษานอกโรงเรียน และโอกาสในการศึกษาต่อเพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ