ในฐานะที่เป็นครูมากว่า 5 ปี คุณครู วิภาภรณ์ ดีเส็ง รับทราบและมองเห็นด้านดีในระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันซึ่งเอื้อให้เด็กไทยเป็นคนว่านอนสอนง่าย และสามารถฝึกฝนให้เรียนเก่งขึ้นได้ตั้งแต่วัยเยาว์ หากแต่ในอีกมุมหนึ่ง การเรียนการสอนในห้องเรียนปัจจุบันคนเป็นครูต่างมองเห็นว่าเด็กไทยยังขาดความกล้าหาญและความเชื่อมั่นที่จะพูดในสิ่งที่ตนรู้ออกมาเพียงเพราะยังรู้สึกกลัวกับการถูกมองว่าคิดผิด หรือเป็นคนไม่ฉลาด
“เด็กไทยเรายังกลัวครู อาจด้วยวิธีการสอนแบบโบราณ ที่ครูต้องเป็นผู้ถูกเสมอ และไม่อนุญาติให้เด็กตั้งคำถามใดๆ” ครู วิภาภรณ์ เริ่มเล่า “เด็กๆจะกลัวเสียความมั่นใจมาก ถ้าจำคำตอบที่ครูเคยสอนไม่ได้ ซึ่งถ้าครูยังคงรูปแบบการสอนลักษณะนี้ เด็กๆก็จะไม่ได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ และก็ขาดทักษะการนำเสนอที่ดี แต่ก็จะดีตรงที่มีความจำเป็นเลิศเท่านั้นเอง”
การเรียนการสอนรูปแบบเดิมๆ ส่งผลเสียอย่างเห็นได้ชัดต่อการพัฒนาทักษะจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งจากผลสอบ International Student Assessment (PISA) ในปี 2015 ซึ่งเป็นการสอบวัดผลทักษะด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เด็กไทยเรารั้งอันดับ 54 จาก 70 ประเทศทั่วโลก นับว่าการสอบวัดผลระดับนานาชาติในครั้งที่ผ่านมา เป็นสิ่งสะท้อนกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รวมถึงทักษะในการแก้ไขปัญหาของเด็กไทนอย่างเห็นได้ชัด
ทักษะในอนาคต แต่ต้องได้รับการชัดเกลาตั้งแต่วันนี้
ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด – ลองคิดถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาวอังคาร จากการได้มองผ่านเข้าไปในกล้องโทรทรรศน์ ระยะทางกว่า 225,000,000 กิโลเมตร หากเราลองนึกดูว่ายังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังรอการค้นพบให้เราได้ไปถึงที่นั่น และนั่นก็คือดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว ในระบบสุริยะกาแลคซี!
“เด็กไทยทุกคนต่างอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ และถามคำถามเพื่อค้นพบ ว่าโลกของเรายังมีอะไรซ่อนอยู่ แต่หลายๆโรงเรียนยังคงยึดติดกับระบบการเรียนที่มุ่งเน้นการท่องจำ ทำให้เด็กไทยขาดความคิดสร้างสรรค์และหมดความอยากรู้อยากเห็น เด็กถามคำถามที่ไม่มีในตำราเรียนไม่ได้ ซึ่งความรู้ทั้งหมด ครูผู้สอนมักชอบอ้างว่าอยู่ในหนังสือหมดแล้ว ทำให้กล่าวในอีกนัยนึงได้ว่า โรงเรียนเหล่านี้ปิดหู ปิดตาเด็กนักเรียน จึงทำให้เด็กขาดความกระหายในการเรียนรู้ไปในที่สุด”
การเรียนรู้แบบท่องจำ ไม่ถือเป็นกุญแจสำคัญในการนำพาเด็กไทยให้ก้าวเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศได้อีกต่อไป เด็กไทยยุคใหม่จำเป็นต้องมี smart skills หรือ ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ไขปัญหา ตลอดจนการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (STEM) กับสถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง
หากเด็กไทยไม่พัฒนาทักษะเหล่านี้แล้ว เยาวชนของชาติจะได้รับโอกาสที่ดีในภายภาคหน้าได้อย่างไร
สร้างสูตรสำเร็จเพื่อสร้างพลังใจให้กับเด็กนักเรียน
เช่นเดียวกับนักเรียน คนเป็นครูควรต้องเรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ ซึ่งครูวิภาภรณ์ ก็ได้จดจำแนวคิดนี้เสมอมา หลังจากได้เข้าร่วมในโครงการกับ คีนัน ครูวิภาภรณ์ ก็ได้ค้นพบวิธีการกระตุ้นการอยากเรียนรู้ของนักเรียน และนำทักษะเหล่านี้มาใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับนักเรียนได้มีความกระหายในความรู้
การได้รับโอกาสข้าอบรม “project-based learning” หรือการเรียนรู้แบบโครงงาน ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการสร้างให้เด็กไทย ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าการเรียนแบบท่องจำบริบทและความหมายของแต่ละเนื้อหา
หากยกตัวอย่าง เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระแสพลังงาน ครูอาจให้ภาพรวมคร่าวๆของหัวข้อนี้ จากนั้นนักเรียน ก็จะสร้างรถของเล่น ที่ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ นักเรียนทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาของเล่นชิ้นนี้ภายใต้การตั้งสมมติฐาน หาวิธีการ และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบรถจากวัสดุต่างๆ และท้ายที่สุด นักเรียนก็จะค้นพบ วิธีใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่จะขับเคลื่อนรถของเล่นให้สามารถแล่นไปข้างหน้าได้
การมอบหมายงานที่สร้างผลลัพธ์ที่ดี ถือเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างทักษะ “smart skills” ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ นักเรียนจะเรียนด้วยความสนุกสนาน และยังกระหายที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมอีกด้วยเมื่อได้ออกจากห้องเรียนไปแล้ว
ครูวิภาภรณ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นักเรียนปัจจุบันชอบให้ครูทำหน้าที่เป็นโค้ช หากครูทำหน้าที่เป็นผู้นำชั้นเรียนที่ชอบตะคอกและออกคำสั่ง เด็กก็จะหันหลังหนีทันที ซึ่งความคิดดีๆของเด็กแต่ละคน ถ้าได้ผ่านการกลั่นกรองแล้ว ก็จะเป็นความรู้อยู่ติดตัวเด็กไปตลอด ซึ่งนั่นก็คือภาระกิจสำคัญของคนเป็นครูในการฝ่าฟันอุปสรรคนี้เพื่อมอบคุณค่าในการเรียนรู้ที่แท้จริงให้แก่เด็กนักเรียนไทย
การมอบเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อมอบศักยภาพที่สำคัญในอนาคต
ครูวิภาภรณ์มองเห็นว่า นักเรียนในยุคปัจจุบัน ก็เปรียบดั่งฝูงนก ที่พร้อมจะได้รับการปลดปล่อยออกจากกรงและโบยบินทะยานสู่ท้องฟ้า ในฐานะที่เป็น Master Teacher ผู้เข้าร่วมการอบรมกับคีนันและได้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ครูท่านอื่นๆ การปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญก็คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นในการเรียนอยู่เสมอ
ครูวิภาภรณ์ ก็ยังเห็นว่าการเรียนแบบท่องจำก็ยังมีความสำคัญ หากแต่ก็ต้องมีการปรับให้แตกต่างไปจากเดิม เพราะนักเรียนในวันนี้มีลักษณะต่างไปจากอดีต เด็กไทยยุคใหม่สนใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าครูไม่สามารถผนวกแนวคิดนี้เข้ากับบทเรียนได้ นักเรียนก็จะหันหลังให้กับการเรียนในห้องเรียน “นักเรียนไทยยุคใหม่ชอบแสดงความคิดเห็น และจะเห็นได้ชัดว่าเด็กๆจะหันหลังให้กับครูผู้สอนทันที ถ้ารู้สึกถูกควบคุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในวัฒนธรรมของเรานั้นการเชื่อฟังผู้ใหญ่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ครูจึงต้องตระหนักรู้อยู่เสมอว่า การสื่อสารให้เด็กเข้าใจวัฒนธรรมที่ดีเช่นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ในในขณะเดียวกัน ก็จะต้องรู้จักเปิดช่องว่างให้เด็กได้พูดและคิดอย่างมีอิสระนักเรียนก็คืออนาคตที่สดใสของประเทศไทย ถ้าเราสร้างนักเรียนให้ดีได้ ประเทศไทยเราก็จะเจริญก้าวหน้าเช่นกัน” ครูวิภาภรณ์ กล่าวปิดท้าย