Community stories (TH), Uncategorized @th

บันทึกเรื่องราวของสตรีผู้ต่อสู้กับความเจ็บป่วย แต่กลับมาเข้มแข็งและเป็นแรงดลใจอันยิ่งใหญ่ให้กับคนรอบข้าง

ม.ค. 26,2023

คุณ วัลลา ดำนิล เคยเป็นเจ้าของกิจการร้านเสริมสวยในชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นชุมชนตั้งอยู่กลางใจเมืองของมหานครกรุงเทพฯ ด้วยลักษณะที่มีความเป็นกันเอง ทั้งยังเป็นช่างทำผมที่มีฝีมือและได้รับการยอมรับจากลูกค้าในละแวกนี้  กิจการร้านเสริมสวยของคุณวัลลา จึงเปรียบดั่งแสงแดดส่องก่อนรุ่งเช้า ที่ดึงดูดความสุขมาส่งให้คนในชุมชน ได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยโฉมฉายอันงดงาม

หากแต่ชีวิตทุกคนต่างต้องเผชิญจุดพลิกผันที่อาจสร้างรอยแผลร้าวในใจ ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คุณ วัลลา ค้นพบว่าตนเอง ป่วยมีโรคเบาหวาน ซึ่งเมื่อโรคภัยไข้เจ็บส่งสัญญาณร้ายกับร่างกาย และสุขภาพก็เสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด คุณ วัลลา จึงจำเป็นต้องเลิกกิจการร้านเสริมสวย เพื่อมาหันดูแลสุขภาพของตนเองอย่างใกล้ชิด

หลังจากเข้าพบแพทย์และประเมินอาการแล้ว ไม่มีทางเลือกใดไปกว่าการต้องได้รับยารักษาหลายชนิดต่อเนื่อง โดยแพทย์ได้อธิบายถึงอันตรายจากภาวะโรคเบาหวาน และแนะนำโภชนาการที่เหมาะสม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากแต่การพบแพทย์ในครั้งนั้น คุณ วัลลา ก็ยังคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ ยังติดนิสัยชอบดื่มน้ำหวาน บริโภคของหวาน และผลไม้มีรสหวาน เช่น มะม่วงและทุเรียน เป็นต้น

คุณวัลลาต้องเข้าพบหมออย่างต่อเนื่อง และไม่นานนักอาการก็เริ่มแสดงผลแย่ลงมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโรคอ้วนรวมถึงการมองเห็นไม่ชัดจากโรคเบาหวานขึ้นตา ทำให้แพทย์ได้แสดงอาการไม่พอใจต่อการไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกล่าวดุ พร้อมขู่ให้เห็นภาพถึงความน่ากลัวของโรคเบาหวานมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้คุณวัลลา มีอาการหวาดกลัวต่อโรคนี้ แต่ก็ยังกังวลใจถึงหนทางในการปรับเปลี่ยนตนเอง

Healthy aging

ชุมชนที่ถูกลืม

เมื่อกล่าวถึงชุมชนคลองเตย  เราคงนึกภาพ มองเห็นความเป็นชุมชนเล็กๆ อยู่ภายใต้ร่มเงาของตึกสูงระฟ้าตั้งตระหง่านใจกลางกรุงเทพฯ เพรียบพร้อมด้วยห้างสรรพสินค้า และคอนโดมิเนียมชื่อดังและหรูหรา ชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นหนึ่งในสลัมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งความไม่เสมอภาค ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีการขยายตัวจากหลากหลายโครงการขนาดใหญ่ หากแต่ชุมชนคลองเตยก็ยังไม่ได้รับการดูแลแ ละยังคงหยุดนิ่ง ไร้ซึ่งความหวังที่จะพัฒนาต่อไป

ชุมชนคลองเตย ยังคงมีปัญหาสังคม อันเนื่องมาจากภาวะคนในชุมชนติดแอลกอฮอล์ และติดการพนัน รวมถึงการหย่าร้าง ซึ่งปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียด และนำไปสู่ความขัดแย้งในครอบครัว  และเมื่อถามถึงความคิดเห็นจากผู้สูงอายุคนอื่น ๆในชุมชน ก็จะพบว่าปัญหาสุขภาพและความยากจน ถือเป็นประเด็นสำคัญที่สุด ที่ควรได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขอย่างเร่งด่วน

“เราไม่ได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีเพียงพอ และในเวลาเดียวกันก็ไม่มีใครสนใจที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ข้อควรปฎิบัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย”  หลายคนๆในชุมชน ต่างก็เจ็บป่วยจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เราไม่รู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสม และปริมาณข้าวต่อมื้อที่เราควรรับประทาน  รวมถึงความเสี่ยงจากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และก็ไม่รู้ด้วยว่าของหวาน เราทานได้บ่อยแค่ไหน ”

นับว่าปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับกรณีของคุณวัลลา เป็นที่แพร่หลายอย่างมากในเมืองไทย ซึ่งสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคเบาหวาน มีถึง 15% จากประชากรทั้งหมด และความดันโลหิตสูง ถึง 33% โดยมีผู้เสียชีวิต จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ “Non-Communicable Disease” (NCDs)  ในประเทศไทย ถึงปีละ 393,000 คน  (คิดเป็น71% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด) และระบบการดูแลสุขภาพในประเทศไทย  ก็ยังไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้เพียงพอ ปัญหาที่เกิดจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีการคาดการว่าผู้สูงอายุในประเทศ จะมีเพิ่มมากขึ้นกว่า 30% ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ภายในอีก 15 ปีข้างหน้า

การได้รับความช่วยเหลือทันท่วงที

หลังจากที่สุขภาพเสื่อมถอย เป็นระยะเวลาหลายปี คุณวัลลาและเพื่อนบ้าน ก็ได้มีโอกาสรับความช่วยเหลือ เมื่อเจ้าหน้าที่มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ทำการสำรวจชุมชนและเลือกชุมชนคลองเตย เป็นชุมชนเป้าหมาย ภายใต้โครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” ในปี พ.ศ. 2559 สนับสนุนงบประมาณทั้งหมดโดย มูลนิธิไฟเซอร์ โดยโครงการฯ นี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (2559 -2562) เพื่อเตรียมกลุ่มคนก่อนเป็นผู้สูงอายุ (อายุ 45-59 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ ให้ได้รับความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งความรู้ในการบริหารจัดการการเงิน ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น ในการป้องกันไม่ให้ เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคล่องแคล่ว ปราศจากความเครียดและมีความสุข

ขณะที่แพทย์ผู้เคยดูแลอาการ มักจะตำหนิพฤติกรรม ของคุณวัลลา และพยายามทำให้เกิดความกลัวต่ออันตรายจากพฤติกรรมการกิน แต่เมื่อมีโอกาสได้เล่าปัญหาสู่ทีมงานของคีนัน คุณวัลลารับรู้ถึงความเข้าใจและได้รับแรงบันดาลใจจากข้อคิดดีๆในการลุกขึ้นต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ทีมงานคีนันเน้นให้ความรู้ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่เข้าใจง่าย เน้นการลงมือปฎิบัติ ทำให้เข้าใจภาพเรื่องโภชนาการและการดูแลสุขภาพดีขึ้น นอกจากนี้ทีมงานคีนัน ยังลงมาถึงชุมชน เพื่อติดตามาการดูแลสุขภาพของแต่ละคน เป็นระยะ  มีการใช้เครื่องมือช่วยตรววจสุขภาพเบื้องต้น และให้ความรู้รายการโภชนาการอาหารที่เหมาะสม ทำให้เกิดการสื่อสารกันต่อเนื่อง นอกจากนี้ คุณวัลลาก็เริ่มมีพลังใจออกไปพบปะผู้คน เพื่อออกกำลังกายร่วมกัน เช่น การเต้นแอโรบิค หรือเดินออกกำลังกาย ซึ่งในระยะเวลา 5 เดือนอาการเบาหวานขึ้นตาก็เริ่มหายไป และน้ำหนักก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

“สุขภาพดีขึ้นมาก จริงๆแล้วรู้สึกว่าโชคดีที่มีคนให้แรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง” คุณวัลลา กล่าวเสริม “ต้องขอขอบคุณ โครงการไฟเซอร์ ฯ และทีมงานคีนัน ที่ช่วยให้มีวันนี้ ซึ่งตัวเราเองไม่ต้องเจอสารพัดโรค และต้องกินยาเป็นกระสอบเหมือนเช่นเคยอีกแล้ว”

เมื่อ“Change Agent” ถือกำเนิดขึ้น

หลังจากเริ่มสุขภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทีมงานมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ก็ยังได้เข้ามาสอนวิชาการบริหารการเงินให้กับชุมชนเพิ่มเติม ซึ่งโดยปกติ คุณวัลลาเป็นคนชอบออมเงิน โดยออมครั้งละ 20 บาท ใส่กระปุกออมสินน้อยๆทุกวันหลังจากใช้จ่ายปกติ อย่างไรก็ดีเทคนิคสำคัญที่ได้เรียนรู้จากคีนันคือ การออมที่ดีต้องออมก่อนใช้ รวมถึงต้องวางแผนการออมให้มีหลายบัญชี เช่น บัญชีออมยามเจ็บป่วย หรือบัญชีออมเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ เป็นต้น

หลังจากได้ลดค่าใช้จ่ายและออมเงินอย่างจริงจัง  คุณวัลลา ก็มีเป้าหมายและความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้า  “ตอนนี้กำลังฝันถึงการซื้อคอนโดมิเนียม เพื่อการลงทุน และมีรายได้จากเงินค่าเช่า จะได้มีรายได้เสริม อีกหนึ่งช่องทาง ไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ”  คุณ วัลลากล่าวด้วยความภูมิใจ

คุณ วัลลา กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เหมือนเช่นตอนเป็นเจ้าของร้านเสริมสวยในชุมชนคลองเตย แม้จะเป็นชุมชนที่พบเจอปัญหามากมาย  แต่วันนี้คุณ วัลลา ได้ทำหน้าที่เป็น ตัวแทนของโครงการฯ ในการนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชน (change agent)  ซึ่งบทบาทนื้ ทำให้ได้นำประสบการณ์ของตนมาใช้พูดคุยกับเพื่อนบ้าน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกในชุมชน หันมาใส่ใจต่อการดูแลสุขภาพ

คุณ วัลลา ได้จัดงานพบปะระหว่างชุมชนอยู่ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เพื่อนบ้านได้เรียนรู้ความสำคัญของโภชนาการที่ถูกต้อง และความจำเป็นของการออกกำลังกายและการดูแลจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เมื่อดูจากจำนวนและความหลากหลาย ของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เพิ่มมากขึ้น ก็นับได้ว่าคุณ วัลลาถือเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญและเป็นคนสร้างความสามัคคีให้กับชุมชน ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวแน่นแฟ้น

“ดีใจมากเลยค่ะ ที่ได้ช่วยให้คนอื่นๆ ในชุมชนเกิดแรงบันดาลใจ”  ”เป็นความสุขอย่างยิ่งเมื่อเห็นคนในชุมชนของเราอยากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปในทางที่ดี”  คุณ วัลลากล่าวปิดท้าย พร้อมรอยยิ้มที่แสดงถึงความภูมิใจในการร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆสู่ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่

Healthy aging

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ