Healthy society stories (TH), Uncategorized @th

หัวใจครูดวงนี้จะขอมอบให้แก่งานพัฒนาชุมชน เพื่อรอยยิ้มเล็กๆของคนไทย

ม.ค. 26,2023

ตลอดระยะเวลาของการเป็นครูมานานกว่า 30 ปี การดูแลเด็กนักเรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีไปพร้อมกันๆถือเป็นหน้าที่สำคัญของ อาจารย์อนงค์ พัวตระกูล หรือครูอนงค์ ซึ่งเป็นครูประจำห้องพยาบาลโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชน์ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ ครูอนงค์มีความเชื่อเสมอว่า นอกจากความฉลาดในการเรียนแล้ว เด็กไทยควรต้องได้รับการปลูกฝังเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม การมีสุขอนามัยที่ดี และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ควบคู่กันไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าใกล้การเป็นสังคมผู้สูงอายุเร็วมากยิ่งขึ้น เยาวชนนักเรียนในวันนี้จึงถือเป็นบุคลากรสำคัญ ที่จะได้ช่วยเหลือสมาชิกชุมชนหรือคนในครอบครัวให้มีความรู้เพียงพอ สามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

health and happiness 1 pfizer april 2019

เมื่อกล่าวถึงปัญหาด้านสุขอนามัยและโภชนาการของเด็กนักเรียนในปัจจุบัน ครูอนงค์พบว่า ยังมีเด็กไทยจำนวนมากติดการบริโภคขนมหวาน และมักเลือกบริโภคแต่อาหารไม่มีประโยชน์ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลต่อเนื่องก็คือ เด็กๆกลุ่มนี้มีสุขภาพแย่ลง เผชิญภาวะโรคอ้วน ซึ่งในช่วงแรกอาจดูไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่หากปล่อยไว้จนกลายเป็นพฤติกรรมต่อเนื่อง สุขภาพกายที่ไม่ดีก็ย่อมส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน

การเป็นครูประจำห้องพยาบาลของโรงเรียนฯ ไม่เพียงแต่ได้ดูแลเด็กๆนักเรียนเท่านั้น ครูอนงค์ยังได้ช่วยให้คำปรึกษาครูท่านอื่นๆด้วยเช่นกัน ซึ่งกลุ่มบุคลากรครูที่เข้ามาพบครูอนงค์ ต่างก็อยู่ในวัยก่อนเกษียณ (50-59 ปี)  และมีครูบางท่านเผชิญปัญหาจากโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ  ครูอนงค์กล่าวว่า “ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องสื่อสารเรื่องการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างจริงจัง มิเช่นนั้นแล้วประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากในการรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ”

ด้วยความตั้งใจจริงที่อยากเห็นนักเรียนในโรงเรียนและเพื่อนครูด้วยกันมีสุขภาพดี และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ครูอนงค์จึงเริ่มวางรูปแบบกิจกรรมการดูแลสุขภาพให้กับโรงเรียน เริ่มตั้งแต่จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องโภชนาการ การวัดส่วนสูง น้ำหนัก ไปจนถึงจัดหาเครื่องวิเคราะห์ไขมัน โปรตีน และน้ำในร่างกาย ที่สามารถใช้ได้ทั้งครูและนักเรียนทุกคน พร้อมทั้งเน้นให้ทุกๆคนได้จดบันทึกพัฒนาการด้านสุขภาพของตนเองรวมถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขเป็นประจำ หลังจากทุกคนได้บันทึกรายงานสุขภาพของตนแล้ว ครูอนงค์ก็จะให้เด็กนักเรียนรวมถึงเพื่อนครูด้วยกัน ช่วยคิดหากระบวนการแก้ไขปัญหาที่เจอ ตัวอย่างเช่น ใครที่มีไขมันเกินจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างไรเพื่อลดไขมันเช่นต้องเน้นโปรตีน กินผักผลไม้ และออกกำลังกายให้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งก็เป็นการสร้างบรรยากาศให้ท้าทาย และทุกคนก็มีความตื่นเต้นที่ได้จะพัฒนาสุขภาพของตนเอง

“ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ท่านคอยช่วยสนับสนุนความคิดและจัดสรรงบประมาณมาให้ ทำให้โรงเรียนฯสามารถจัดกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ได้อย่างราบรื่น”

ด้วยความกระตือรือร้นใฝ่รู้เสมอ ทำให้ครูอนงค์ได้มีโอกาสร่วมงานกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้โครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า (เท่า)-ทัน-สุข” ซึ่งครูอนงค์ได้มีโอกาสเข้าอบรมกับผู้รู้จริงด้านโภชนาการและสุขภาพ ทำให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ และมีความมั่นใจมากขึ้นจากการได้ฝึกฝนทำกิจกรรมร่วมกันเป็นทีมกับผู้เข้าอบรมท่านอื่นๆ  และยังได้สร้างเครือข่ายอาสาสมัครด้วยกันทำให้เกิดการแบ่งปันกิจกรรมระหว่างกันเพื่อนำมาปรับใช้ในโรงเรียน

ครูอนงค์เล่าเสริมว่า รูปแบบการอบรมจะเน้นองค์ประกอบทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการออมตรงตามแนวคิดของโครงการฯที่ว่า “กายฟิต จิตดี มีออม” ซึ่งรูปแบบโครงการที่คีนันนำเข้ามาใช้ ถือว่ามีความต่างกับหน่วยงานอื่นเยอะมาก เพราะการทำงานของคีนันจะเน้นการติดตามผล และต้องพิสูจน์ได้ว่าประโยชน์ของการดำเนินโครงการต้องเกิดผลลัพธ์จริง ไม่ใช่เริ่มต้นอบรมแล้วจบไป เช่น มีการติดตามผลการพัฒนาการด้านสุขภาพ การเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษา รวมทั้งช่วยดูแลการบันทึกบัญชีและการออมเงิน ซึ่งการติดตามผลทั้งหมดนี้ ก็เพื่อเป้าหมายให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้น”

teacher, health

ความตั้งใจของครูอนงค์ หลังจากเข้าร่วมโครงการฯก็คือ การได้ต่อยอดความรู้สู่ชุมชนใกล้เคียงและเป็นกระบอกเสียงกระจายความรู้ดีๆเหล่านี้สู่คนอื่นๆในชุมชน แม้หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ครูอนงค์ก็ยังคงอยากทำงานด้านการดูแลสุขภาพต่อไป และพร้อมที่จะหาเครือข่ายการทำงาน และนำประสบการณ์การทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุคนอื่นๆในชุมชนให้ได้มากยิ่งขึ้น

“อายุเป็นเพียงตัวเลข การทำงานถือเป็นการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า ยังมีคนมากมายในชุมชนที่เราช่วยเหลือเค้าได้ เพราะถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตดี มีเงินออม ก็จะรู้สึกว่ารู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า ไม่เป็นภาระให้คนอื่น” ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และจะถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศที่ผู้สูงอายุจะมีส่วนร่วมด้านตลาดแรงงาน อันจะก่อให้เกิดสินค้าและบริการอีกมากมายตามมา

ครูอนงค์ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสื่อสารเรื่องนี้อย่างจริงจังและทั่วถึง และต้องเตรียมความพร้อมในการปรับระบบสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มนี้ พร้อมสนับสนุนให้เกิดค่านิยมที่ว่าผู้สูงวัยคือบุคคลากรที่มีคุณค่า เราต้องช่วยกันจัดหางานที่ผู้สูงวัยทำได้ ซึ่งจะทำให้ทุกคน ไม่ว่าวัยใดก็จะสามารถทำงานได้ ช่วยพัฒนาสังคมไทยไปด้วยกันได้ และประเทศไทยเราก็จะมีแต่เรื่องดีๆเกิดขึ้นต่อจากนี้

“เเม้ดิฉันจะอยู่ในวัยเกษียณ แต่ก็จะยังสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยต่อไปแน่นอน ต่อให้อายุ 80 ปี ถ้ายังมีแรงก็จะยังคงทำงาน ชุมชนของเราไม่ทอดทิ้งกันอยู่แล้ว เพราะคนไทยเป็นเชื้อชาติที่รักกันและเอื้อเฟื้อกัน” ครูอนงค์กล่าวปิดท้ายด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ

Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ