Education, Uncategorized @th

การเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลองจริงถือเป็นผลผลิตด้านการศึกษาที่ยั่งยืน

ม.ค. 26,2023

ครูถือเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดของนักเรียน และทำให้การสอนนั้นมีความท้าทาย และเต็มไปด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งในขณะเดียวกันเราก็ยังได้รับรางวัลในหลาย ๆ ด้าน ครูนพรัตน์ บูรณะถาวร ครูวิทยาศาสตร์จาก โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง จังหวัดระยอง

การสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับโรงเรียนรัฐบาลหลาย ๆ แห่งในประเทศไทยที่ข้อจำกัดด้านงบประมาณการจัดสรรอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมครูจึงไม่สามารถจัดสรรเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ต่าง ๆ ในดำเนินกิจกรรมการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ครูนพรัตน์ก็เป็นหนึ่งในครูไทยที่กำลังหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีกว่า และสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียนในชั้นเรียนมากขึ้น “ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในฐานะการเป็นครูคือการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ การพิจารณามุ่งเน้นเฉพาะตัวชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน (KPI) ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นจะต้องผ่านการทดลองจริง และนักเรียนก็ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่สอน ครูควรทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับนักเรียนโดยการแนะนำหรือให้ข้อเสนอแนะ รวมไปถึงการกระตุ้นให้พวกเขาคิดได้อย่างอิสระ จากนั้นนักเรียนก็จะค้นพบคำตอบได้ด้วยตัวเอง” ซึ่งครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียนก็เคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการสอนที่เรียกว่า Enhanced – Project-Based Learning (E-PBL) แต่พวกเขาก็ยังขาดความสามารถในการนำเทคนิคเหล่านี้มาปรับใช้ในห้องเรียนได้อย่างเต็มที่

ถึงแม้ว่าครูนพรัตน์จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย แต่ครูนพรัตน์ก็ยังมุ่งมั่นที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ความปรารถนาที่จะเรียนรู้และปรับปรุงการเรียนการสอนทำให้ครูนพรัตน์ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาวิชาชีพครูของคีนัน และด้วยความสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงเรียนทำให้ครูนพรัตน์สามารถเข้าร่วมโครงการนี้พร้อม ๆ กับครูจากโรงเรียนอื่นอีก 60 คน

ในปี 2563 มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียได้ร่วมมือกับมูลนิธิ Caterpillar เพื่อเปิดตัวโครงการพัฒนาวิชาชีพครู “E-PBL Teacher Professional Development Program” ในจังหวัดระยอง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และส่งเสริมให้กับครูไทยเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพลิกโฉมรูปแบบการศึกษาไทย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคม มูลนิธิ Caterpillar ได้ดำเนินโครงการเพื่อสร้างทักษะให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้สามารถทำงานในรูปแบบชีวิตการทำงานสมัยใหม่ได้ในอนาคต โดยโครงการนี้จะมีการจัดฝึกอบรมครูจำนวน 80 คน และผู้อำนายการโรงเรียน 30 คน ซึ่งโครงการนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตของนักเรียนกว่า 10,000 คน

ครูนพรัตน์กล่าวด้วยความประทับใจว่า “ตอนนี้โรงเรียนของเรามุ่งเน้นการสอนแบบ E-PBL ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนก็มุ่งเน้นให้ครูมีการเตรียมแผนการสอนที่ส่งเสริมในด้านสะเต็มศึกษา เช่น โครงงานการสร้างเครื่องบินที่ช่วยสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะต้องคิดและวิเคราะห์ว่าเครื่องบินออกแบบควรทำมาจากวัสดุใด และจะนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาประกอบกันได้อย่างไร โดยที่นักเรียนจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ซึ่งครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชที่คอยแนะนำ ให้กำลังใจ และถามคำถามไปพร้อมกันทำงาน ในตอนนี้ครูจะไม่เน้นการเรียนการสอนที่ต้องจดจำทุกอย่างจากหนังสืออีกต่อไป เรามีการสรุปกิจกรรมจากโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ที่นักเรียนจะต้องนำเสนอในชั้นเรียนให้ครูและเพื่อนในชั้นเรียนฟัง

ครูนพรัตน์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการเรียนแบบนี้คือ “นักเรียนกล้าคิดด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นและกล้านำเสนออย่างเปิดเผย ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ” เขากล่าวต่อไปว่า “นักเรียนในชั้นเรียนได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อออกมานำเสนองานและตอบคำถามต่าง ๆ นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น”

การเสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงนั้นเป็นวิธีการศึกษาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ถึงเวลาที่ควรพิจารณาแล้วว่าตัวชี้วัดที่ใช้ในระบบการศึกษาที่เราใช้อยู่นั้นสอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบันหรือไม่ “ทักษะ 4C ที่สอนในระบบของ E-PBL (การคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และการสื่อสาร) มีความสำคัญต่อความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นเราควรแบ่งปันความรู้นี้ให้กับคุณครูท่านอื่น เพื่อสร้าง ‘ชุมชนแห่งการเรียนรู้’ และเพิ่มขีดความสามารถของครูและนักเรียนไทย” ครูนพรัตน์กล่าว

หากบริษัทของท่านประสงค์เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาการศึกษาไทย โปรดติดต่อเราโดยกรอกรายละเอียดของท่านด้านล่างนี้ หรือที่ info@kenan-asia.org

[gravityform id=”9″ title=”false” description=”false”]

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ