Student stories (TH), Uncategorized @th

สอนเด็กให้มีความฝันได้อย่างไร

ม.ค. 26,2023

Hands on training

ความใฝ่ฝันอันแรงกล้าของเด็กผู้ชายคนนี้คือ “อยากขับเครื่องบินที่สร้างด้วยตัวเอง” เป็นคำพูดของด.ช. รันน์ อุนโอภาส ที่แม้ว่าจะอายุเพียง 6 ขวบ แต่ก็ฉายแววให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการประดิษฐ์ไม่น้อย การขับเคลื่อนนักประดิษฐ์นี้ มีความเกี่ยวข้องกับการที่ผู้คนเริ่มนำวิธีการ do-it-yourself (DIY) และ do-it-with-others (DIWO) มาใช้มากขึ้นในกระบวนการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีด้วยตนเอง  สำหรับน้องรันน์แล้ว น้องได้เข้ามาทำกิจกรรมที่บูธ Kids Maker โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และโครงการ Chevron Enjoy Science โดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เป็นผู้จัด ครั้งนี้เค้าได้ทดลองประดิษฐ์ ออโตโมต้า สิ่งประดิษฐ์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจากแรงหมุน เป็นการฝึกให้เด็กได้คิดในการเลือกอุปกรณ์มาประกอบชิ้นงาน วิเคราะห์ถึงวิธีการทำงาน การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเติมให้ชิ้นงานมีความสวยงาม ถือเป็นการเริ่มต้นการมีทักษะของการเป็นเมกเกอร์แบบครบครัน

แม้ว่าน้องรันน์จะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าเมกเกอร์คืออะไร แต่ก็รู้สึกสนุกทุกครั้งที่ได้ลองประดิษฐ์อะไรเอง ยิ่งเมื่อคุณแม่ได้พาน้องมาที่งาน Mini Maker ทั้ง 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ซึ่งน้องรันน์ชื่นชอบมากที่ได้มาเรียนผ่านการเล่น และยังได้สิ่งของที่ประดิษฐ์เองกลับบ้านไปอีกด้วย ปีนี้เลยขอให้ที่บ้านพามาเปิดประสบการณ์อีกครั้ง โดยที่ครอบครัวก็ให้การสนับสนุนให้น้องรันน์ได้ทำกิจกรรมแบบนี้อยู่แล้ว เพราะอยากให้น้องได้ฝึกฝนทักษะต่างๆที่อาจไม่ได้จากห้องเรียนทั่วไป

“วันนี้ผมได้ลองทำออโต้โมต้า สนุกมากเลยครับ เพราะได้วาดรูป พับกระดาษ ตัดกระดาษ ต่อไม้เข้ากับกล่อง ทำเสร็จก็มาดูว่ามันหมุนได้ไหม ครั้งแรกก็ไม่หมุน ผมก็เลยรื้อทำใหม่ มีตัดกล่องกระดาษเป็นรูปอื่นบ้าง ลองเอาไม้เสียบใหม่ ลองใส่กาวให้น้อยลง  ก็ลองอีก 2-3 ครั้งถึงทำได้ครับ ผมดีใจมากที่ผมทำได้ เพราะหมายความว่าผมมีแววเป็นเมกเกอร์แล้วครับ” น้องรันน์กล่าวอย่างตื่นเต้น “ปีหน้าผมจะมาอีกแน่นอน และอยากให้พี่ๆเอากิจกรรมประดิษฐ์เครื่องบินมาในงานด้วยครับ ผมอยากต่อเครื่องบิน อยากรู้ว่ามันบินได้อย่างไร แล้วก็อยากทำเครื่องบินที่ไม่เหมือนใครจะได้เป็นเครื่องบินลำเดียวในโลก พอทำได้แล้วผมก็จะเอาไปสอนเพื่อนๆต่อครับ”

สำหรับ Maker Faire ครั้งนี้ คุณแม่น้องรันน์ได้แบ่งปันความคิดเห็นว่า “ทุกปีจะมาร่วมงานอยู่แล้ว เพราะอยากให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ทำให้ได้คิด วิเคราะห์ ลงมือทำ และแก้ปัญหา รวมทั้งน้องจะได้เจอเพื่อนใหม่ๆอีกด้วย เมื่อก่อนคิดแต่ว่าจะพาลูกไปเรียนดนตรีและเล่นกีฬา แต่พอได้มา Mini Maker Faire ปีแรก ก็รู้เลยว่าเราไม่ควรตีกรอบในการทำกิจกรรมของลูก จากงานครั้งนั้นเราเห็นว่าลูกมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ลูกสามารถหยิบจับของเหลือใช้ที่บ้านมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆ ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ทำให้เค้าสนุกไปกับการคิดและลงมือทำ สำหรับคุณแม่การพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิตของลูกสำคัญไม่แพ้กับการมีความรู้ความสามารถจากการเรียนในห้องเรียน ซึ่งกิจกรรมใน Maker Faire ครั้งนี้ตอบโจทย์เป็นอย่างมากค่ะ”

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดี ๆ จาก Enjoy Science ที่: https://www.kenan-asia.org/chevron-enjoy-science/

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ