Strong leaders stories (TH), Uncategorized @th

เรื่องราวของคุณหมอผู้มีหัวใจอุทิศ ให้กับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของคนในชุมชน

ม.ค. 26,2023

ณ เช้าวันหยุดวันหนึ่งในมหานครกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวันที่อากาศเย็นสดชื่นเหมาะแก่การทำกิจกรรมนอกบ้าน วันนี้โรงเรียนและธุรกิจห้างร้านหลายๆแห่งไม่ได้เปิดทำการ  คุณหมอรัตนา มนต์ประจักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สาธารณสุข 42 จึงได้ลงพื้นที่ออกตรวจสุขภาพคนในชุมชน ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักด้วยเสียงหัวเราะของเด็ก ๆ ที่กำลังสนุกสานกับการปั่นจักรยานในสนามวอลเลย์บอล ที่อยู่ไม่ไกลกัน ขณะที่เหล่าบรรดาผู้สูงอายุในชุมชนต่างก็นั่งรอพบหมอและคุยกันอย่างสนุกสนาน

สมาชิกชุมชนต่างก็มีความสุขที่ได้พบปะ พูดคุยกับเพื่อนๆระหว่างรอพบคุณหมอ คิวตรวจวันนี้เป็นเรื่องของการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการให้คำแนะนำการดูแลรักษาโรคอื่นๆ หลังจากนั้นไม่นานนักกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพชุมชนก็มาถึง พร้อมเริ่มสาธิตการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับสมาชิกทุกๆคนที่มาพบแพทย์ในวันนี้

สำหรับคุณหมอ รัตนา การลงพื้นที่ให้บริการทางการแพทย์กับสมาชิกชุมชน  ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าถึงสมาชิกที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยวันนี้ คุณหมอรัตนาและทีมพยาบาล ใช้เวลากว่าครึ่งวันในการตรวจสุขภาพให้กับคนในชุมชน รวมทั้งสิ้น 64 คน โดยไม่ได้เก็บค่ารักษาพยาบาลใดๆ

อย่างไรก็ตามการดูแลด้านการแพทย์สำหรับสมาชิกชุมชนก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ ซึ่งในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 42 คุณหมอรัตนา ต้องรับผิดชอบดูแลสมาชิกผู้อยู่อาศัยในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ จำนวนรวมทั้งสิ้นเกินกว่า 170,000 คน จาก 53 ชุมชนในเขตบางขุนเทียน โดยแม้คุณหมอรัตนาและทีมพยาบาล จะมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน แต่ก็ยังมีเวลาไม่เพียงพอที่จะสามารถช่วยเหลือสมาชิกทุกคนๆในเขตบางขุนเทียนได้

Dr. Rattana 2

 “เวลา 1 วัน ในการพบปะกับสมาชิกชุมชน ไม่เพียงพอ เราไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของแต่ละบุคคลได้มากนัก” คุณหมอรัตนา กล่าว

ชุมชนในเขตบางขุนเทียน ก็เหมือนกับชุมชนอื่นๆในประเทศไทย ซึ่งกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจัยนี้เองทำให้คุณหมอ รัตนา มีงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากความต้องการในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และอัลไซเมอร์

ทุกๆคนควรได้รับสิทธิ์เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ ซึ่งด้วยปัจจัยนี้เองมูลนิธิคีนันแห่งเอเชียจึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิไฟเซอร์ ริเริ่มโครงการโครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” และได้ทำงานร่วมกับ คุณหมอรัตนาและเจ้าหน้าที่จากศูนย์สาธารณสุข 42 เพื่อให้ชุมชนในเขตบางขุนเทียนเป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุสุขภาพดี และเป็นชุมชนต้นแบบให้กับเขตอื่นๆได้ต่อไป

โครงการฯนี้เริ่มต้นการทำงาน โดยการเข้าไปศึกษาระบบการดูแลรักษาพยาบาลและการใส่ใจสุขภาพของคนในชุมชน รวมถึงวิธีการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน โดยอาสาสมัครแต่ละคนล้วนมีความสามารถในการเข้าถึงคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้มีความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ  ซึ่งต่างก็เป็นเพื่อนเพื่อนบ้านและสมาชิกในครอบครัวของแต่ละครัวเรือน และด้วยความผูกพันของคนในชุมชนที่มีต่ออาสาสมัคร ทำให้สมาชิกในชุมชนล้วนมีความไว้วางใจ และอนุญาตให้เหล่าอาสาสมัครเข้ามาในบ้านเพื่อตรวจสุขภาพอย่างเป็นกันเอง รวมถึงได้แนะนำพูดคุยถึงแนวทางการรักษาพยาบาลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น

Dr Ratana 4

 “ผู้คนในชุมชนต่างก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ดังนั้นโครงการจึงถือว่ามีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก”

ทีมพัฒนาชุมชนของคีนัน ได้เริ่มต้นภาระกิจในการสร้างองค์ความรู้ให้กับทีมอาสาสมัครด้านสุขภาพของชุมชน ในปี พ.ศ. 2560 ภายใต้ปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ด้านกายภาพ (โภชนาการและการออกกำลังกาย) ด้านสุขภาพจิต และด้านสุขภาพทางการเงิน เพื่อให้อาสาสมัครเหล่านี้ มีความรู้พร้อมที่จะดูแลผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป)  และกลุ่มเริ่มต้นสูงวัย (45-59 ปี) ในเขตบางขุนเทียน ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม โครงการฯ ก็ยังได้มอบเงินช่วยเหลือแก่อาสาสมัครกลุ่มนี้ เพื่อให้นำไปใช้ส่งเสริมการคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

จากทุนที่ได้รับ ทำให้อาสาสมัครสามารถเริ่มดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังตามบ้านพัก และยังได้สร้างสถานที่ออกกำลังกายชุมชน และสอนการทำสมาธิรวมถึงจัดกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ อาสาสมัครกลุ่มนี้ก็จะคอยติดต่อกับคุณหมอรัตนาสม่ำเสมอและแจ้งข่าวกรณีสมาชิกฯต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน ทำให้การทำงานเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์จากภาครัฐและกลุ่มอาสาสมัครชุมชน

คุณหมอรัตนา กล่าวเสริมว่า “ส่วนที่ท้าทายที่สุดในการทำงานก็คือ ก่อนหน้านี้ศูนย์สาธารณสุขไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในชุมชน” ตั้งแต่ “คีนัน” เชิญให้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็ทำให้เราสามารถเข้าถึงชุมชนได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม”

Dr Ratana 3

ภายในระยะเวลาสามปีของโครงการฯ ชีวิตของผู้คนในบางขุนเทียนก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เมื่อถูกถามเกี่ยวกับผผลลัพธ์ของโครงการฯ คุณหมอรัตนา ก็ได้ชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการดูแล และได้รับคำปรึกษาจนสามารถเอาชนะภาวะโรคซึมเศร้าได้ และยังมีสตรีอีกท่านที่ตั้งใจปรับพฤติกรรมจนสามารถลดน้ำหนักให้ลงมาอยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงสตรีอีกหนึ่งท่านที่ตั้งใจต่อสู้กับโรคความดันโลหิตจนกลายเป็นคนมีสุขภาพดีในปัจจุบัน  สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการได้รับความรู้และความใส่ใจจากทีมงานของโครงการฯ ทำให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้ออกกำลังกาย จนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อตนเอง

 “ การได้รับองค์ความรู้จากคีนัน ถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม สำหรับทุกคนที่ทำงานด้านสาธารณสุข” ดร. รัตนากล่าว “ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย รวมถึงสภาวะด้านอารมณ์”

คุณหมอรัตนา เปรียบเหมือนเป็นคนแรกที่คนในชุมชนคิดถึงเสมอในเรื่องการดูแลสุขภาพ และยังถือเป็นผู้บุกเบิกสำหรับระบบการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งขึ้น ในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และได้ช่วยให้ผู้สูงวัย มีความรับผิดชอบในการดูและตนเอง และป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข”  จึงได้ขยายการสนับสนุนเงินทุนให้กับคุณหมอรัตนา เพื่อนำไปใช้ดูแลสมาชิกชุมชนบางขุนเทียนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนยิ่งขึ้น

ด้วยทีมอาสาสมัครชุมชนที่พร้อมอุทิศตนอยู่เคียงคู่คนในชุมชน  และด้วยการฝึกอบรมและทุนสนับสนุนจากคีนัน ทำให้คุณหมอรัตนา สามารถหล่อรวมความเป็นหนึ่งเดียวของคนชุมชน ให้รู้จักการใส่ใจและห่วงใยสุขภาพซึ่งกันละกัน วันนี้ชุมชนบางขุนเทียนจึงมีระบบสาธารณสุขชุมชนที่ครอบคลุม และทำให้สมาชิกชุมชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

________________________________________

หากท่านสนใจบทความด้านสังคมผู้สูงอายุ ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ของคีนันที่ https://www.kenan-asia.org/nextgenaging/

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ