Blog (TH), Uncategorized @th

เสียงสะท้อนจากคุณครูผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมนักเรียนผู้ช่วยครู (Student Lab Assistant)

ม.ค. 26,2023

กว่า 24 ปีในอาชีพครู ที่ผ่านการสอนในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย มอบวิชาความรู้ให้แก่เด็กนักเรียนอีกมากมาย และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของการเป็นครู คุณครูวิภาดา พีระธรรม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านพานสหราษฎร์บำรุง จังหวัดสกลนคร ผู้ซึ่งไม่เคยหยุดพัฒนาตนเองเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่นักเรียน ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นแม่พิมพ์ของชาติและการได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้เข้าอบรมในกิจกรรม Student Lab Assistant เพื่ออบรมนักเรียนผู้ช่วยครู ที่ขับเคลื่อนโดยโครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ภายใต้การสนับสนุนหลักของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

 

คุณครูวิภาดาได้เน้นความสำคัญในอาชีพครูว่าต้องไม่หยุดพัฒนาตนเอง หากมีสิ่งใหม่ๆที่สามารถต่อยอดการสอนได้คุณครูไม่รีรอที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม การสอนนั้นจะต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยและพฤติกรรมของนักเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้อีกทาง “ปัญหาที่พบคือ อุปกรณ์ที่โรงเรียนมีค่อนข้างล้าสมัย และบางส่วนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน จึงไม่สามารถให้นักเรียนใช้งานได้จริงเลยทำให้ไม่ได้ทดลองจริง ไม่เห็นภาพและผลลัพธ์ ทำให้ไม่สามารถต่อยอดความคิดและอาจไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเท่าที่ควร ซึ่งถูกจำกัดโดยกรอบการใช้งานของอุปกรณ์”

 

จากการสังเกตุของคุณครูวิภาดาจะเห็นว่านักเรียนหลายคนมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และมีความอยากรู้อยากเห็น จึงอยากส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนให้ได้มากที่สุด “เราเป็นผู้สอนเอง จึงได้เห็นว่าเด็กๆมีการตอบสนองอย่างไรในชั้นเรียน การโต้ตอบกับผู้สอน การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น วิธีการใช้อุปกรณ์ การคิด     วิเคาระห์สถานการณ์ การนำเสนอความคิดและแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เราเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อพัฒนาการและออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะอยากให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมกับห้องเรียนวิทยาศาตร์อย่างสนุกสนาน อีกทั้งยังทำให้เราได้มองเห็นศักยภาพของนักเรียนบางคนในการต่อยอดสู่การเป็นนักเรียนผู้ช่วยครู และจุดประกายสู่อาชีพทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต” ครูวิภาดากล่าวเสริม

 

กิจกรรมอบรมนักเรียนผู้ช่วยครู (Student Lab Assistant) เป็นการเปิดโอกาสให้คุณครูภายในสถาบันศึกษาได้คัดเลือกเด็กนักเรียนที่ฉายแววทางด้านวิทยาศาสตร์เข้าร่วมอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะและศักยภาพในการเป็นผู้ช่วยครู และมากกว่านั้น คุณครูที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ยังได้เรียนรู้เทคนิคการสอนผ่านการอบรมจากวิทยากรที่ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นกลวีธีการสอนรูปแบบใหม่สำหรับห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ที่สร้างมิติใหม่ให้แก่การเรียนการสอนในยุคนี้ โดยกลวิธีประกอบด้วย

  • การใช้สัญญาณมือ (Silent hand) ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมต่อไป
  • Think Pair Share เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดด้วยตัวเองก่อน หลังจากนั้นจะจับคู่คิดกับเพื่อนที่นั่งด้านข้าง พร้อมถ่ายทอดความคิดนั้นๆให้เพื่อนร่วมชั้นได้ฟัง
  • Exit Ticket การประเมินนักเรียนผ่านการตั้งคำถามท้ายชั่วโมง เช่น แบบทดสอบย่อย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้หลังจากบทเรียน

 

การอบรมนี้ ไม่เพียงส่งผลดีแก่นักเรียน แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้ครูวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆทางการสอน ยกระดับการสอนให้เข้ากับยุคปัจจุบัน สอดรับกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยยังสร้างความสนุกสนานและแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนจากบทเรียนวิทยาศาสตร์และเทคนิคการสอนเชิงสร้างสรรค์

 

คุณครูวิภาดาคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการสอนเพื่อมาประยุกต์ให้เข้ากับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งอยากให้นักเรียนที่ได้เข้าอบรมรู้จักกับอุปกรณ์การเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ตามใบงาน และสนับสนุนการสอนในเบื้องต้นได้ ซึ่งเป็นการเสริมทักษะในการจัดการให้แก่นักเรียนอีกด้วย ในส่วนของข้อเสนอแนะ คุณครูอยากให้มีการเพิ่มโมดูลต่างๆให้ครอบคลุมเนื้อหาบทเรียนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ตัวเองสามารถนำมาปรับใช้กับทุกการสอนภายในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของตนเอง

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ