Education, Uncategorized @th

ครูรุ่นใหม่มีวิธีการสอนอย่างไร เพื่อสร้างนักเรียนไทยให้มีศักยภาพ

ม.ค. 26,2023

เมื่อครูรุ่นใหม่นำการศึกษาแบบสะเต็มมาใช้ นักเรียนก็เรียนด้วยความสนุกและไม่รู้สึกเบื่ออีกต่อไป

ครูเกรียงไกร สังข์ทอง เริ่มต้นอาชีพเป็นผู้ช่วยครูในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และได้รับโอกาสทำหน้าที่บรรยายเนื้อหาจากหนังสือให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งก็นับว่าเป็นงานในฝันสำหรับหลายๆคน ที่จบการศึกษาจากสาขาจุลชีววิทยา ถึงแม้ครูเกรียงไกรจะมีความชอบในการสอน แต่ครูเกรียงไกรกลับพบว่าที่ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างในอาชีพครูที่น่าค้นหาและต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21มุมมองต่ออาชีพของครูเกรียงไกรเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากมีโอกาสได้สอนหนังสือแก่นักเรียนในช่วงเวลาว่าง อีกทั้งยังมีโอกาสที่ได้แบ่งปันความชื่นชอบในวิชาวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ๆ สิ่งนี้จึงกลายเป็นจุดพลิกผัน ที่ครูเกรียงไกรเลือกที่จะออกจากการสอนในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อมาเป็นครูในระดับมัธยมศึกษา

ไม่นานหลังจากที่ครูเกรียงไกรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ครูเกรียงไกรก็ได้เริ่มเดินไปในเส้นทางสายใหม่ในฐานะครูวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ณ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (โรงเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับนักเรียนด้อยโอกาสในชนบทของประเทศไทย) ถึงแม้ว่าครูเกรียงไกรจะเคยสอนเด็กเล็กมาบ้าง แต่ครูเกรียงไกรก็ยังคงไม่คุ้นเคยกับการสอนนักเรียนในวัยนี้และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจนักเรียนกลุ่มนี้พอสมควร

“ ผมไม่เคยสอนเด็กเล็กในโรงเรียนมาก่อน” ครูเกรียงไกรกล่าว “ ผมตื่นเต้นมากเพราะผมไม่มั่นใจว่านักเรียนจะเข้าใจสิ่งที่ผมสอนหรือไม่”

และสิ่งที่ครูเกรียงไกรกังวล ก็กลายเป็นเรื่องจริง เพราะนักเรียนกลุ่มนี้ไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูพยายามจะถ่ายทอดเลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งต่างกับนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่ครูเกรียงไกรเคยสอน นักเรียนใหม่กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาเรียนโดยที่ไม่มีพื้นฐานความรู้เพียงพอ ขาดความมั่นใจ และไม่มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่าครูเกรียงไกรจะมีความเชี่ยวชาญในวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ครูจะสามารถทำให้นักเรียนหันมาสนใจเรียน และเมื่อนักเรียนขาดสมาธิในการเรียน หลายคนๆจึงไม่สามารถมีความรู้เพียงพอและทำคะแนนสอบได้ดี

ปัญหาคือครูเกรียงไกรจะทำให้วิชาวิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องสนุกสำหรับนักเรียนได้อย่างไร และมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขปัญหานี้ ครูเกรียงไกรจึงทำได้เพียงถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการสอนแบบเดิม ๆ  เช่น สอนตามตำราและอธิบายเพิ่มเติมตามที่จำเป็นเท่านั้น

ปัญหาจากเข้าใจไม่ตรงกันของการเรียนการสอนระหว่างครูเกรียงไกรและนักเรียนเกิดขึ้นตลอดทั้งปีในชั้นเรียน และค่อยๆบั่นทอนความรู้สึกชื่นชอบต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของครูเกรียงไกรลงเรื่อยๆ แต่ครูเกรียงไกรก็ถือว่ายังมีโชคอยู่บ้าง เมื่อเขาได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพครูของมูลนิธิคีนันฯ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากคีนันฯและครูพี่เลี้ยงก็ช่วยให้ครูเกรียงไกรได้รู้จักกับหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Inquiry-based Science) ซึ่งเป็นการผสมผสานการเรียนการสอนที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นหลักด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ขั้นสูง(high-impact learning modules) และตรงกับหลักสูตรการศึกษาของไทย

หลักสูตรเหล่านี้แตกต่างจากวิธีการเรียนรู้แบบเดิมๆที่เขาเคยชื่นชอบ หลักสูตรการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Inquiry-based Science) จะทำให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาในบทเรียและนำมาปรับใช้ในชีวิตจริง รวมถึงทำการทดลองที่หลากหลายได้ ไม่ว่านักเรียนแต่ละคนจะมีพื้นฐานความรู้มาอย่างไร แต่ทุกคนได้พบว่าการเรียนรู้ในรูปแบบนี้สามารถเข้าใจง่ายและได้มีส่วนร่วมเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีประโยชน์ในชีวิตจริง นอกจากนี้หลักสูตรการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Inquiry-based Science) ยังเป็นการผสมผสานเนื้อหาความรู้จากบทเรียนและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์) ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของนักเรียนเป็นอย่างมากในโลกปัจจุบัน

การออกแบบและถ่ายทอดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Inquiry-based Science) อาจฟังดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากนักเรียนเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามก็จำเป็นต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญเพื่อแสดงการทำการทดลอง ตั้งคำถาม และประเมินความเข้าใจของนักเรียนได้ทันที

ด้วยความทุ่มเทในการสอนของครูเกรียงไกรควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากคีนัน ฯ (ทั้งการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และสนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ) ครูเกรียงไกรจึงได้รับการขัดเกลาทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ในลักษณะการสอนการลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ

“ผมเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนหลังจากเข้าร่วมโครงการ” ครูเกรียงไกรกล่าว “ผมเข้าใจนักเรียนมากขึ้น เนื่องจากนักเรียนบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาจากในหนังสือเรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในชั้นเรียน”

ตั้งแต่ครูเกรียงไกรเข้าร่วมโครงการของคีนัน ฯ นักเรียนก็มีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียนมากขึ้น มีคะแนนดีขึ้น และได้รับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็น ครูเกรียงไกรกลับมามีความกระตือรือร้นในการสอนอีกครั้ง และมีความหวังว่าจะได้แบ่งปันความชื่นชอบในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนอีกหลายร้อยคนในภายภาคหน้าต่อไป

ท่านสามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติเกี่ยวกับงานด้านการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในประเทศไทย ได้ที่ www.kenan-asia.org/th/21st-century-education

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ