Health, Uncategorized @th

ไทยเตรียมความพร้อมรับมือการอุบัติของโรคระบาดดีเพียงใด

ม.ค. 26,2023

pandemic thailand

ทุกประเทศทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) โดยส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ยากต่อการคาดการณ์ ไวรัสชนิดนี้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ ส่งผลให้กลุ่มนักพยาธิวิทยา (Pathologist) นักระบาดวิทยา (Epidemiologist) และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกต่างกำลังต่อสู้กับโรคระบาดนี้อย่างเต็มกำลังความสามารถ แม้ทุกภาคส่วนจะพยายามช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ แต่เราก็ยังต้องสูญเสียไปหลายชีวิต ทั่วโลกยังคงทำได้เพียงรับมือกับการแพร่ระบาด และเฝ้ารอการคิดค้นวัคซีนสำหรับรักษาโรคนี้อย่างใจจดใจจ่อ

รัฐบาลพยายามลดความเสี่ยงและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยออกมาตรการปิดสถานบันเทิงชั่วคราว จำกัดที่นั่งในร้านอาหาร เลื่อนการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) รณรงค์ให้สวมหน้ากากและล้างมือที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส จากการเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งนี้ เราได้เรียนรู้อะไร แล้วเราจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในครั้งต่อไปเพื่อรักษาชีวิตของเราในอนาคตได้
ท่านผู้อ่านอาจจะมีตอบคำถามที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราต่างเชื่อว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อความสามารถในการรับมือกับการอุบัติของโรคระบาดก็คือเรื่องการศึกษา ที่เราจะต้องให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับนักเรียนในปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาของการแพร่ระบาดในอนาคต เพราะท้ายที่สุดเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น พวกเราหลายคนก็จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่จะต้องพึ่งพาพวกเขาให้เติบโตไปเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถปกป้องคนไทยทุกคน

สิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมคืออะไร
ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างยอมรับว่าไม่มีวิธีการใดที่ง่ายในการยับยั้งการแพร่ระบาดในปัจจุบัน หากแต่เราต้องทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ทรัพยากรและความสามารถที่เรามี แม้เราจะเชื่อว่าไม่มีไวรัสตัวใดที่สามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกเพื่อทำลายล้างโลกของเราได้ แต่เราก็พึงให้ความสำคัญต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคต

ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย เราจะต้องเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถในการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างทันท่วงที ไม่เพียงแต่เพิ่มคุณภาพของแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรด้านสาธารณสุขเท่านั้น หากยังต้องเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีทักษะเหล่านี้ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยในสถานพยาบาล

ระบบการศึกษาของเราควรสามารถสร้างนักเรียนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มากพอ พวกเข้าต้องสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) รวมไปถึงทักษะ “4C” ประกอบด้วย การสื่อสาร (Communications) การทำงานเป็นทีม (Collaborations) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) หรือกล่าวได้ว่านักเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรสามารถนำความรู้สะเต็มศึกษา (STEM) และทักษะ 4C มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง

ภายใต้วิกฤตการณ์ปัจจุบัน ยิ่งทำให้เราตระหนักชัดว่าทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นมากเพียงใด เช่น หากเราต้องการเภสัชกรที่มีความรู้ด้านเคมีและทักษะการคิดวิเคราะห์ในการคิดค้นวัคซีน เราต้องการนักระบาดวิทยาที่มีทักษะการสื่อสารสำหรับทำงานร่วมกับทีม ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้นหากแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทั่วโลกต้องการเช่นกัน การติดตามการแพร่ระบาดของไวรัส ถ้าประเทศไทยขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสำคัญเหล่านี้ เราก็จะต้องหันไปพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาภายในประเทศของเรา

รูปแบบเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในประเทศไทยที่เน้นการท่องจำ ทำให้ประเทศของเราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0 หากเราสร้างคนของเราให้มีทักษะดังกล่าวได้จริงก็จะสามารถลดผลกระทบจากปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันกาล ดังเช่นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน

นับเป็นทางออกที่ดีหากเราสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของนักเรียนให้สามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นได้ เราเชื่อว่าหากนักเรียนระดับชั้น ม.1 ที่ไม่เคยมีโอกาสได้นำแนวคิดทางเคมีมาลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ แล้วจะเติบโตกลายเป็นเภสัชกรที่เก่งได้ เด็กๆ จะพลาดโอกาสที่จะเติบโตในอาชีพนี้ เพราะระบบการศึกษาไม่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้อย่างที่ควรจะเป็น

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเพิ่มวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญในระบบการศึกษาไทย เราสนับสนุนการพัฒนาทักษะวิชาชีพครูหรืออาจารย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (STEM) อันครอบคลุมทั้งการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง และยังจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยลงมือปฏิบัติจริง (Hands-On) ครูจะได้เรียนรู้เนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based Learning) เพื่อสามารถนำกลับไปสร้างนักเรียนไทยให้มีความพร้อมสู่การทำงานในอนาคต และด้วยการสนับสนุนจากบริษัทที่ให้ความสำคัญต่ออนาคตของนักเรียนไทย เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงโอกาสของนักเรียนในปัจจุบันได้

ขณะที่เราตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่านักเรียนทั่วประเทศไทยจะได้รับการศึกษาที่พวกเขาสมควรได้รับ หากความพยายามของเราประสบความสำเร็จ นักเรียนเหล่านี้จะสามารถเติบโตและก้าวสู่โอกาสในการทำงานในอนาคตได้ ท้ายที่สุดการลงทุนกับนักเรียนในวันนี้ก็อาจสามารถพัฒนาสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บในอนาคต

โปรดร่วมกันสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ขั้นสูงในประเทศไทย ด้วยการกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้พี่ให้ทางเราติดต่อกลับ

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ