Press Releases TH, Uncategorized @th

คีนัน ช่วยพัฒนาการศึกษาให้กับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง

ม.ค. 26,2023

สถาบันคีนันแห่งอเซีย ได้รับเกียรติเข้าร่วม “การประชุมภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง” ครั้งที่ 11 หรือ “The 11th Lower Mekong Initiative Regional Working Group Meeting” เพื่อร่วมกำหนดแผนพัฒนาการศึกษาให้กับประเทศในกลุ่มสมาชิก ฯ จัดขึ้น ณ เมือง เนปิดอว์ ประเทศเมียนมา วันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

“การประชุมภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง” จัดขึ้นครั้งแรก ในปี 2009 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ประเทศสมาชิก ประกอบไปด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมมือพัฒนาภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนและการเติบโตอย่างทั่วถึง ภายใต้พันธกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ในการส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค ภายใต้พื้นฐานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ สุขภาพ การเกษตร การเชื่อมโยงอย่างทั่วถึง ความปลอดภัยด้านพลังงาน และ การศึกษา

สำหรับการพัฒนาด้านการศึกษาจะมุ่งเน้น การแลกเปลี่ยนความรู้และการประสานงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับกลุ่มเยาวชนรวมทั้งสตรีในประเทศ ก้าวสู่อาชีพการทำงานได้เหมาะสมกับตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 โดย มร . จอห์น ฏะซิลวา Director of Corporate Engagement จากมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจาก สหรัฐอเมริกาและประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อบรรยายร่วมกับบุคลลากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ มร . จอห์น ฏะซิลวา กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการยกระดับองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ หรือ สะเต็มศึกษา (STEM) ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- ม.3) ให้เกิดการเชื่อมโยงในการสร้างคุณภาพการศึกษาให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ ได้เติบโตศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการฝึกฝนเยาชนเหล่านี้ให้รู้จักคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยหลักฐานที่ปรากฎ ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบันและสืบต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ มร . จอห์น ฏะซิลวา ยังร่วมพูดคุยกับตัวแทนแต่ละประเทศ เกี่ยวกับงานของสถาบัน คีนันแห่งเอซีย ณ ปัจจุบัน ถึงบทบาทการมีส่วนร่วมช่วยกันผลักดัน สะเต็มศึกษาในแต่ละประเทศ สำหรับความท้าทายที่แต่ละฝ่ายต้องเผชิญก็คือ ความแตกต่างในศักยภาพ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ต่างยกประเด็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อให้เยาวชนนักเรียนในชาติเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน อีกทั้งเปิดโอกาสให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาต่อ ณ สถาบันชั้นนำในต่างประเทศ ขณะที่ประเทศไทย ก้าวผ่านความท้าทายในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว หากแต่จำเป็นที่ต้องยกระดับสะเต็มศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ การร่วมพูดคุยกับบุคคลากรจากประเทศต่างๆ ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือที่จะช่วยพัฒนาความท้าทายเหล่านี้ เพื่อสร้างบุคคลากรด้านการศึกษาในชาติให้สามารถถ่ายทอดแบบแผนการศึกษา อาทิ วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้กับประเทศไทย วิชาด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำหรับประเทศเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการ ผนวก บูรณาการ สะเต็มศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภูมิภาคนี้

คีนัน ได้นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกับกลุ่มนักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียน มาแบ่งปันให้กับคณะรัฐบาลไทย และ รัฐบาลจากประเทศต่างๆในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อ่านรายละเอียดงานของเราเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kenan-asia.org/21st-century-education/

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ