Health, Uncategorized @th

โครงการปลูกฝังผู้นำชุมชนแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตอันสดใสของชุมชนคลองเตย

ม.ค. 26,2023

ป้าหมวยเดินทอดน่องบนทางปูนหยาบๆ ขนาด 6 บล็อก ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยในชุมชนของป้าหมวย เรียกกันว่า “ชุมชนสร้างสรรพัฒนา” คนในชุมชนต่างให้ความเคารพนับถือป้าหมวย ถึงแม้ว่าป้าหมวยจะ “เกษียณ” จากอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำมาถึง 30 ปี ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้วก็ตาม ตอนนี้ป้าหมวยอายุ 71 ปี รับความไว้วางใจและถูกเลือกให้เป็นผู้นำของมูลนิธิพร้อมใจพัฒนา ซึ่งนี่เป็นหน้าอันสำคัญที่ป้าหมวยจะต้องรับผิดชอบ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งในฐานะนักสังคมสงเคราะห์และผู้นำโครงการพร้อมใจ ป้าหมวยเคยดำเนินการโครงการเพื่อชุมชนที่มีเป้าหมายลดยาเสพติด ช่วยเหลือเด็กจากการถูกล่วงละเมิด และให้สมาชิกในชุมชนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับที่อยู่อาศัย เมื่อดูจากสภาพแวดล้อมที่ดี และกลิ่นอายความสดชื่นของสวนในชุมชน นี่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของป้าหมวยในการทำงานร่วมกับมูลนิธิไฟเซอร์ในโครงการ Pfizer Healthy Sting Society หรือ โครงการ“ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข”

Healthy community klong toey

เมื่อปีที่แล้ว ป้าหมวยต้องการสร้างระบบกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกผู้สูงอายุในชุมชนของป้าหมวยได้ช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้ทราบถึงจำนวนของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่ต้องการ ป้าหมวยได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขประจำท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนของป้าหมวย แต่เมื่อเห็นคำร้องขอของป้าหมวยที่ถูกตอบกลับมานั้น มันทำให้ป้าหมวยรู้สึกท้อแท้ ที่พบว่าสถิติที่ป้าหมวยได้รับนั้นไม่สมบูรณ์ ในการที่ป้าหมวยจะทำกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องหาวิธีอื่นที่จะสามารถเปรียบเทียบและวางแผนความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนได้ ดังนั้นป้าหมวยจึงหันมาขอความช่วยเหลือจากสถาบันคีนันแห่งเอเชียเพื่อช่วยผู้สูงอายุในชมชุน นั้นก็คือโครงการ“ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” นั้นเอง

ด้วยทุนสนับสนุนเล็ก ๆ จากโครงการ“ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” ทำให้ป้าหมวยสามารถจัดหาอาสาสมัครผู้สูงอายุในชุมชนให้มาเข้าร่วมโครงการได้ ทีมงานของป้าหมวยสามารถค้นหาและตอบสนองความต้องการของสมาชิกในชุมชนของป้าได้ ซึ่งในเบื้องต้นสถิติที่ได้รับจากสำนักงานเขตระบุว่าในชุมชุนของป้าหมวยมีผู้สูงอายุเพียง 20 คนเท่านั้น แต่ด้วยความพยายามของป้าหมวยทำให้สามารถระบุจำนวนผู้สูงอายุในชุมชนได้ถึง 70 คน ซึ่งในจำนวน 20 คนนั้นเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถลุกนั่งได้ ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านั้นจะต้องได้รับการดูแล และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ป้าหมวยและทีมงานได้ติดต่อกับกลุ่มเยาวชน และรวมรวมกลุ่มเด็กที่มีอายุ 10 ปี และผู้สูงอายุ หรือช่วงก่อนวัยสูงอายุจำนวน 5 คน จาก 3 ชุมชน และจัดกิจกรรมเพื่อฝึกสมาธิในบริเวณวัดของชุมชน และทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ลดภาวะความเครียด นอกจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อสังคมจากกิจกรรมนี้แล้ว ป้าหมวยยังได้รับความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้น ทำให้ป้าหมวยสามารถวางแผนโครงการเพื่อชุมชนในอนาคตอีกด้วย ป้าหมวยได้ใช้ความพยายามอย่างหนักในการวางแผนโครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” ซึ่งเป็นโครงการใหม่สำหรับสร้างสวนในชุมชน ที่ไม่ใช่แค่เพียงออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นสวนที่สมาชิกในชุมชนทุกคนได้มาร่วมกันทำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เพื่อการเรียนรู้และก้าวหน้าไปด้วยกัน

โครงการเพื่อชุมชน เช่นโครงการของป้าหมวยจะเกิดขึ้นได้จริงได้นั้น ก็เนื่องด้วยมีโครงการ “ไฟเซอร์ รู้-เฒ่า(เท่า)-ทัน-สุข” เป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้กับผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาสุขภาพของคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานะหรือระดับใดก็ตาม

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ