Health, Uncategorized @th

ความท้าทายของการเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันโควิด-19

ม.ค. 26,2023

thailand covid temperature

การที่วัคซีน COVID-19 ได้รับการพัฒนาทั่วโลกในระยะเวลาอันสั้น จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจับจ้องถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งคนไทยจำนวนหนึ่งเองก็ยังวิตกกังวลกับเรื่องนี้ จากผลสำรวจความคิดเห็นโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่า 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (ทั้งหมด 1,570 คน) กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน COVID-19 ในขณะที่คนไทย 66% ต้องการรับวัคซีนและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่มักพบบ่อยหลังรับวัคซีนแล้ว ในขณะที่ 14% ไม่ต้องการรับวัคซีนเลยและไม่สนใจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความเชื่อมั่นเช่นนี้มีผลต่อการฉีดวัคซีนทั้งในระดับบุคคลและภาพรวมงานสาธารณสุข

เมื่อไวรัสโคโรนาที่เป็นสาเหตุของ COVID-19 เริ่มแพร่กระจายช่วงแรก แทบไม่มีใครมีภูมิคุ้มกันเลย แต่เวลานี้วัคซีนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการต่อสู้กับโรคระบาดหากมีการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางเพียงพอ ทั้งนี้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีการเปิดตัววัคซีนจาก 7 แหล่งผลิตที่แตกต่างกันและเริ่มทดลองใช้ในประเทศต่างๆ อีกทั้งยังทดสอบติดตามกับผู้สมัครใจรับวัคซีนมากกว่า 200 ราย

การเปิดตัววัคซีนของประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุขของไทยอนุมัติการฉีดวัคซีนครั้งแรกที่จะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และแบ่งออกเป็นแผนสามระยะ โดยเริ่มจากการฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ระยะแรกจะให้ยาสองล้านโดสครอบคลุมประชากรหนึ่งล้านคน คนละสองโดสเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของวัคซีน ระยะที่สองจัดอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนโดยมีการวางแผน 26 ล้านโดสสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และระยะที่สามจะดำเนินการในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 สำหรับประชากรทุกคน

อีกชั้นหนึ่งในการป้องกัน COVID-19

ในขณะที่การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 กำลังดำเนินอยู่ในประเทศไทยและทั่วโลก สิ่งสำคัญคือ ประชาชนต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด อาทิ การสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ การล้างมือเป็นประจำ การรักษาระยะห่างในสังคม และการหลีกเลี่ยงเข้าในพื้นที่แออัด ตลอดจนการใช้แอปพลิเคชันเมื่อเช็คอินใช้บริการร้านค้า ร้านอาหาร และพื้นที่ให้บริการต่าง ๆ เพื่ออำนวยต่อการติดตามข้อมูลของผู้ใช้และผู้ให้บริการทุกราย ประเทศต่าง ๆ ที่มีการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับประเทศไทยนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามาตรการดังกล่าวสามารถป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อในวงกว้างได้อย่างดีเยี่ยม ส่วนการฉีดวัคซีนในประเทศไทยจะเพิ่มความรัดกุมยิ่งขึ้นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

สิ่งที่มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียดำเนินการ

จุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย คือการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและชุมชนผ่านงานเตรียมความพร้อมสังคมสูงวัยของไทย โดยคีนันดำเนินโครงการ “ไฟเซอร์ รู้เฒ่า (เท่า) ทันสุข” ร่วมกับบุคลากรแนวหน้าทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้สูงอายุ เพื่อสร้างขีดความสามารถของคนเหล่านี้จำนวน 230 คน ให้เป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ขาดโอกาสในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอุบลราชธานี

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และนำไปสู่ค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลของแต่ละคนและทั้งสังคมในการรักษา โดยคีนันเสริมความรู้ด้านสุขภาพให้กับชุมชนเพื่อให้แต่ละคนดูแลสุขภาพของตนได้อย่างดี โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การเงิน และประเด็นอื่น ๆ ที่สำคัญต่อภาวะสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพของไทย

ในขณะที่การระบาดใหญ่ทั่วโลกของ COVID-19 นำมาซึ่งโศกนาฏกรรมและความท้าทายที่ไม่อาจคาดคะเนได้ เป็นเหตุผลให้คีนันส่งมอบความหวังให้กับสังคม ด้วยความรู้ เทคโนโลยี และทักษะที่เหมาะสม และทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้มีอนาคตที่ดีกว่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด ที่อีเมล info@kenan-asia.org หากท่านสนใจโปรแกรมด้านสุขภาพของเรา หรือสนับสนุนบริการของคีนันเพื่อสังคมสูงวัยได้

บทความโดยคุณสุภาพร มหาพลตระกูล ผู้จัดการโครงการด้านสุขภาพมูลนิธิคีนันเอเชีย และคุณเจตนวัฒน์ สลักคำ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ มูลนิธิคีนันเอเชีย

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ