Uncategorized @th

BOEING EPBL ประเทศเวียดนาม พ.ศ. 2564

ม.ค. 26,2023

ข่าวการประชุมก่อนเริ่มโครงการ

ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Ministry of Education and Training: MOET) จัดการประชุมเพื่อ

  • นำเสนอโครงการเทคโนโลยีเสริมการสอน (Technology Enhanced Learning: TEL) ในประเทศเวียดนาม ประจำปี พ.ศ. 2564 ให้กับผู้มีส่วนร่วม
  • แนะนำตัวและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมจัดตั้งโครงการ
  • หารือและลงนามเพื่อดำเนินโครงการ

 

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การอำนวยการของ ดร. Nguyen Xuan Thanh อธิบดีกรมมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม เพื่อรวบรวมตัวแทนจากกระทรวง ได้แก่ Pham Xuan Tien รองผู้อำนวยการแผนกศึกษาธิการและฝึกอบรมประจำกรุงฮานอย (Hanoi Department of Education and Training: DoET) ตัวแทนจากสำนักงานศึกษาธิการและฝึกอบรม (Bureaus of Education and Training) จากเขต Ba Dinh, Bac Tu Liem, Cau Giay, Dong Da, Hai Ba Trung, Hoan Kiem, Long Bien และ Tay Ho รวมถึงครูต้นแบบจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงฮานอยกว่า 28 แห่ง ทางมูลนิธิคีนันฯ ได้ส่งคุณ Richard Bernhard หัวหน้าตัวแทนในประเทศเวียดนามและกรรมการอํานวยการมูลนิธิคีนันฯ เข้าร่วมการประชุมเพื่อต้อนรับผู้ร่วมจัดตั้งโครงการ การมาครบองค์ประชุมในครั้งนี้เป็นสัญญาณอันดีว่ามูลนิธิคีนันฯ มีโอกาสที่จะเติบโตและสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าให้แก่ระบบสะเต็มศึกษาในประเทศเวียดนาม

 

ดร. Thanh อธิบดีกรมมัธยมศึกษาได้ร่วมแบ่งปันความเห็นและเน้นยำ้ว่า “อ้างอิงจากคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีข้อที่ 16 ได้ส่งเสริมให้ปรับใช้สะเต็มศึกษา เพื่อตอบรับกระแสในปัจจุบันและการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังจะมาถึง แผนกมัธยมศึกษา (Secondary Education Department: SED) ได้รับผิดชอบในการสืบค้นและขัดเกลาหลักสูตรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศเวียดนาม ตลอดระยะเวลา 5 ปี หน่วยงานจากกระทรวงศึกษาธิการและผู้เกี่ยวข้องต่างร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษาช่วงทดลอง โดย SED ได้สั่งสมประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบและสิ่งจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะการปรับทัศนคติที่มีต่อสะเต็มศึกษา เนื่องจากหน่วยงาน SED และ MOET ต้องการแรงสนับสนุนในการสร้างความตระหนักรู้เบื้องต้นว่า สะเต็มศึกษาไม่ใช่วิชาหนึ่ง ๆ แต่เป็นแนวการสอนที่จะประสานความรู้เชิงวิชาการเข้ากับชีวิตจริง”

หน่วยงาน SED และ MOET พบว่าวิธีการดำเนินโครงการของมูลนิธิคีนันฯ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งด้านประสบการณ์และพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ ดร. Thanh ยังกล่าวต่ออีกว่า

“เราต้องแน่ใจว่าคาบเรียนแบบสะเต็มศึกษาจะดึงดูดนักเรียนและสร้างนิสัยเชิงวิศวกรรม จากการ ระบุ สืนค้น จินตนาการ วางแผน และหารือแผนอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะลงมือสร้าง ทดลอง และพัฒนา เพื่อยกระดับความรู้และรักษาแนวคิดของผู้เรียน และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตจริงไปพร้อมกัน”

 

หลังกล่าวขอบคุณ MOET, SED และ ดร. Thanh คุณ Richard Bernhard หัวหน้าตัวแทนในประเทศเวียดนามและกรรมการอํานวยการมูลนิธิคีนันฯ ได้กล่าวต่อว่า “ข้อเสนอแนะจากดร. Thanh นั้นสอดคล้องกับปณิธานของคีนันฯ ที่มุ่งส่งเสริมสะเต็มศึกษาในประเทศไทยและเวียดนามตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี คีนันฯ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นที่ศึกษาด้านสะเต็มโดยเฉพาะ เพื่อเผยแพร่หลักสูตรและแนวการสอนทั้งสะเต็มศึกษาและวิธีจัดการสอนและเรียนรู้ ครูที่ได้เข้าร่วมโครงการของเราจะได้เรียนรู้วิธีการสนับสนุนผู้เรียนให้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง สร้างอุปนิสัยเปิดรับคำตอบและคำถามจากผู้เรียนอย่างไร้อคติ จากนั้นจะค่อย ๆ เปลี่ยนวิธีวางแผนการสอน จากการสั่งให้นักเรียนท่องตำราและดูครูทำโครงงานสู่การเปิดโอกาสให้นักเรียนลองทำตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยตัวเอง ยิ่งกว่านั้น การนำสะเต็มศึกษามาปรับใช้จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ การสื่อสาร การร่วมมือ การคิดวิเคราะห์ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์”

คุณ Richard Bernhard ยังเน้นย้ำว่าการเปลี่ยนผ่านนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนได้ หากไม่ได้รับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน มูลนิธิคีนันฯ จึงรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการพลิกโฉมการศึกษาครั้งสำคัญนี้.

 

หลังได้รับฟังการหารือครั้งนี้ เครือข่ายโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงฮานอยรู้สึกชื่นชมความพยายามของมูลนิธิคีนันฯ เป็นอย่างมาก และเฝ้ารอที่จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะสะเต็มศึกษา ครูกลุ่มนี้จะร่วมพัฒนาหลักสูตร เพื่อสร้างระบบนิเวศผู้สอนสะเต็มศึกษาที่ทุกคนสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น ไปจนถึงมอบการสนับสนุนด้านเทคนิคต่าง ๆ อย่่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการในครั้งนี้ยังคงมีความท้าทายที่ผุู้เข้าร่วมหยิบยกขึ้นมา เช่น ข้อจำกัดด้านขีดความสามารถของผู้สอน หรืออัตราลาออกของครูสัญญาจ้างที่สูงขึ้น

โดยสรุปแล้ว หัวหน้าฝ่ายมัธยมศึกษาและรองผู้อำนวยการแผนกศึกษาธิการและฝึกอบรมประจำกรุงฮานอย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม ยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนโครงการในครั้งนี้ พร้อมเน้นย้ำการดำเนินงานตามระเบียบวิธี ซึ่งต้องอาศัยการจัดการและประสานงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ระดับประเทศ เทศบาล เขต ลงมาจนถึงระดับโรงเรียน เช่นเดียวกับการประสานงานระหว่างครูต้นแบบกับครูท่านอื่น ๆ ในการอภิปรายเพื่อ พัฒนาหลักสูตร ดูแลเอกสารในการอบรม และการจัดชั้นเรียนในสถานศึกษา หลังจบการประชุมนี้ ต่อไปจะเป็นการฝึกอบรมครูต้นแบบและครูในโรงเรียนตามลำดับ

Share this article

Latest.

ต่อยอดอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมไทย

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเห็

สะเต็มศึกษา การเรียนรู้ยุคใหม่สำหรับผู้หญิง

การศึกษาของเวียดนามพัฒนาข

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ