Partner (TH)

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ OSMEP

ม.ค. 26,2023

Dr. Wimonkan Kosuma“คีนัน” และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 

จับมือ ร่วมเป็นพันธมิตรแห่ง ส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อมก้าวสู่ระดับโลก

ไม่ว่าจะเป็นร้านส้มตำข้างทาง หรือร้านค้าที่ตกแต่งสวยงาม ภายในอาคารสูง 3 ชั้น ใจกลางกรุงเทพฯ หรือแม้แต่ร้านตัดเย็บผ้าขนาดย่อม ธุรกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือเป็นฟันเฟืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศไทย ถึงกระนั้นในช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครั้งยิ่งใหญ่ ทุกอุตสาหกรรมต้องต่อสู้และปรับตัว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่เกิดจากการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดคำถามมากมายว่าธุรกิจขนาดเล็กของไทย กว่าสามล้านรายนั้น จะสามารถอยู่รอดได้อย่างไร ในสถานการณ์เช่นนี้

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แม้จะไม่ได้เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ประกอบการเหล่านั้น แต่ดร.วิมลกานต์ ก็ได้เล็งเห็นข้อดีและความได้เปรียบของธุรกิจขนาดย่อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันเป็นผลมาจากการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ในอดีตความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญต่างๆ เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำ ก็จะมีแต่บริษัทขนาดใหญ่และมีเงินทุนมหาศาลเท่านั้นที่จะสามารถมีได้ อย่างไรก็ตามในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟน ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซต่างๆ รวมถึงระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และการชำระเงินออนไลน์ได้เพียงแค่ปลายนิ้วเท่านั้น ซึ่ง ดร.วิมลกานต์ ได้แนะนำวิธีเหล่านี้ ให้กับพ่อค้าขายหม่ำ (ไส้กรอกอีสาน) ในจังหวัดขอนแก่น ให้เริ่มขายสินค้าทางออนไลน์ ซึ่งได้ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากจากเดิมอีกด้วย

สำหรับมุมมอง ดร.วิมลกานต์ นั้น การที่ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จได้ จะไม่เพียงแค่เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสังคมไทยอีกด้วย ดร.วิมลกานต์ ยังจำได้ชัดเจนว่าในเหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ. ศ. 2540 และได้แพร่กระจายไปทั่วภูมภาคเอเชีย แม้ว่ามูลค่าความสูญเสียของสกุลเงินไทยจะด้อยค่าลงอย่างน่าใจหาย และเกิดความวุ่นวายต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค แต่ธุรกิจขนาดย่อม เปรียบเสมือนอัศวิน เป็นตัวช่วยให้คนในท้องถิ่นมีงานทำ มีสินค้าและบริการที่ในราคาที่เอื้อมถึงให้กับประชาชนได้บรรเทาความเดือดร้อน ในช่วงวิกฤตการณ์ครั้งนั้น รัฐบาลไทยก็ตระหนักถึงความสำคัญของการมีธุรกิจขนาดย่อมที่แข็งแรง จึงได้จัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขึ้นในปี 2543 ภายใต้วัตถุประสงค์ก็เพื่อกำหนดนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย ดร.วิมลกานต์ ซึ่งในเวลานั้น ทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้มีโอกาสที่เข้ามาเริ่มงานในหน่วยงานใหม่นี้ ในปี 2545 ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศและฝ่ายสนับสนุนนโยบาย

ภายใต้บทบาทครั้งใหม่ ฯ ดร.วิมลกานต์ได้ติดต่อกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เนื่องจากเป็นพัทธมิตรระหว่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน และได้ช่วยเหลือส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ประสบความสำเร็จในระดับสากลมาโดยตลอด และด้วย สสว. ในขณะนั้นยังคงค่อนข้างเป็นมือใหม่ และรู้ดีว่า “คีนัน” จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสากล ดร.วิมลกานต์ จึงมอบหมายให้ “คีนัน” ดำเนินการจัดสัมมนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในนามของ สสว.ขึ้น ในปี 2546 ซึ่งการสัมมนาในครั้งน้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองหน่วยงาน สสว.และ“คีนัน” ยังได้ดำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม ให้มีศักยภาพ สามารถเข้าแข่งขันในเวทีการค้าระดับสากลได้

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่ง ดร.วิมลกานต์ ก็ได้กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของ สสว. ก็คือการช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จ สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับยุคดิจิทัล และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ซึ่ง“คีนัน” ก็ยังคงเป็นพันธมิตรที่สำคัญ ในการช่วยให้องค์กรสมารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมาทั้ง สสว. และ“คีนัน” ก็ได้จัดสัมมนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ขึ้นอีกครั้ง เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดย่อม สามารถนำระบบอีคอมเมิร์ซ มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง โดยครั้งนี้ โครงการฯ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการเพาะพันธุ์ปลากัด ซึ่งถือเป็นกลุ่มปลาสวยงาม โดยสอนผู้ประกอบการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ให้สามารถเพิ่มช่องทางการขายปลาสวยงาประเภทนี้ ไปยังตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย

“คีนัน”เป็นองค์กรที่ดำเนินงานได้อย่างยอดเยี่ยมมาก” ดร.วิมลกานต์กล่าว “เรารู้ว่าเราสามารถพึ่งพาคีนันได้ จากความเป็นมืออาชีพและความเชี่ยวชาญ”
เป็นเวลากว่า 15 ปีแล้วที่ ดร.วิมลกานต์ ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ ด้านการส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อมของประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา “คีนัน” ก็ยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นและมีความน่าเชื่อถือเสมอมา และความร่วมมือในการดำเนินโครงการสำคัญๆนี้ ก็คงจะไม่ได้จบอยู่แค่ในยุคดิจิทัล เพียงเท่านี้อย่างแน่นอน

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ