ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ในช่วงแรกที่ ดร. อ้อมใจ ไทรเมฆ ได้เริ่มต้นทำงานกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ในการปรับปรุงแผนการศึกษาในประเทศไทย เมื่อปี พ. ศ. 2555 ซึ่ง ณ เวลานั้นคีนันได้ทำงานให้กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) ใน 10 จังหวัดของประเทศไทย ถึงแม้ว่า ดร. อ้อมใจ จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แต่ดร.อ้อมใจก็รู้สึกประทับใจในเป้าหมาย และผลลัพธ์การดำเนินงานของคีนัน ดังนั้นเมื่อคีนัน เรียนเชิญ ดร. อ้อมใจ เข้าร่วมโครงการ Chevron Enjoy Science ซึ่งเป็นโครงการที่ประสานความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาระบบสะเต็มศึกษาในประเทศไทย ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสะเต็มศึกษา ที่จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศ ดร. อ้อมใจ ก็ไม่ที่จะลังเลที่จะตอบรับโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ นี้ในทันที
ดร. อ้อมใจ กล่าวว่า การทำงานด้านการพัฒนาการศึกษากับคีนัน เราต่างเห็นพ้องต้องกันว่า โครงการนี้จะสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและองค์ความรู้ ซึ่งได้รับการลงนามโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เป็นองค์กรแรก เรียกว่า “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย” (TCU) เพื่อทำให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในลักษณะการสืบเสาะหาความคิดเชิงวิเคราะห์ ดำเนินการสอนโดยอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย และให้นักเรียนได้เรียนรู้ในห้องทดลองของมหาวิทยาลัยได้จริง “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” เป็นโครงการในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้เริ่มต้นดำเนินการอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการขาดเงินทุนที่จำเป็นในการต่อยอดเพื่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีศักยภาพ และการวางแผนโครงการนั้นก็ไม่ได้ถูกจัดการให้อยู่ในมาตรฐานที่เข้มงวดเท่าที่ควร
ประโยชน์ประการแรกของการเป็นร่วมพันธมิตร ก็คือ โครงการฯนี้ สามารถขยายไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง 18 แห่ง จากที่ สวทช. ได้ตั้งใจไว้จากเดิมเพียง 10 แห่งในตอนต้น นอกจากนี้ยังได้รับอนุญาตให้สามารถเพิ่มกิจกรรมประจำปีจากเพียง 15 กิจกรรมไปจนถึง 63 กิจกรรมได้ และปรับปรุงโครงการให้นักเรียนได้แล้วกว่า 30,000 คน แม้ว่าในตอนแรก โครงการฯ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ สวทช. ที่ทำงานในโครงการนั้นๆ ซึ่งความร่วมมือและการดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมงานด้านการศึกษาของคีนัน การปรับปรุงแผนต่างๆ ที่มีมาตรฐานอันเข้มงวด และตัวชี้วัดของโครงการที่มีคุณภาพของคีนัน ก็ทำให้ทุกกระบวนการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งดร. อ้อมใจ ก็ให้ความเชื่อมั่นกับแนวทางที่มีระเบียบวินัยนี้ ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ในโครงการได้พัฒนาขีดความสามารถ และมีความมั่นใจในการดำเนินโครงการ TCU และโครงการอื่นๆได้ดียิ่งขึ้นไป รวมถึงเพิ่มความสำเร็จให้กับกิจกรรมของ TCU และทำให้โครงการเป็นที่น่าสนใจกับเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น ดร. อ้อมใจยังกล่าวอีกว่า โครงการ Enjoy Science ทำให้การดำเนินโครงการ TCU นั้นส่งผลกระทบต่อประเทศมากยิ่งขึ้น และยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้ว ดร. อ้อมใจ จึงมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะบรรลุภารกิจของ สวทช. และต่อยอดความสำเร็จให้กับโครงการ TCU และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทีมงานทุกคน รวมถึงสร้างข้อเด่นชัดของกิจกรรม สวทช.เอง ที่มีต่อประชาชนทั่วไปและภาครัฐบาล ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่า โครงการฯนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
เมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อสองปีครึ่งที่ผ่านมา ดร. อ้อมใจ กล่าวว่า ตัวเองตัดสินใจได้ถูกต้องแล้ว ที่ขอให้ทีมงานคีนัน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ TCU ในฐานะผู้สังเกตการณ์ และร่วมเป็นพันธมิตร เพราะคีนัน ได้ช่วยสนับสนุนให้โครงการและกิจกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จ และสร้างความน่าเชื่อเถือได้มากยิ่งขึ้นไป