องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) (ภายใต้โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเซีย)/ กระทรวงสาธารณสุข 2552 2555
ในปี พ.ศ. 2552 โปรแกรมสาธารณสุขมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียด้วยเงินทุนจาก USAID ได้สนับสนุนการทำงานอย่างเป็นระบบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ในการเสริมสร้างขีดความสามารถการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในพื้นที่ โดยได้จัดตั้งหน่วยป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียขึ้นในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินงานโดยบุคลากรเกษียณอายุผู้มีประสบการณ์ด้านมาลาเรีย เพื่อเป็นผู้นำการพัฒนารูปแบบการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียแห่งแรกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง จากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า แรงงานอพยพชาวพม่าและแรงงานไทยที่ประกอบอาชีพรับจ้างกรีดยาง เป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนถึงเกือบ 6,000 คน กิจกรรมหลักประกอบไปด้วย การจัดตั้งทีมงานการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครแรงงานต่างชาติการสำรวจกีฎวิทยาของยุง การสำรวจแคมป์คนงานต่างชาติ การจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงสูง การควบคุมยุงโดยการพ่นสารเคมีในบ้านการป้องกัน โดยแจกจ่ายมุ้งชุบสารเคมีกำจัดยุงแบบมีฤทธิ์ยาวนานให้แก่กลุ่มผู้อพยพการค้นหาผู้ป่วย ในผู้อพยพรายใหม่ที่เพิ่งเดินทางเข้ามาในพื้นที่ หรือผู้อพยพชาวพม่าที่เพิ่งเดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่การพัฒนา และการให้สื่อสุขศึกษาในรูปแบบภาษาพม่า และภาษามอญการกำกับการกินยาโดยตรง (Directly Observed Treatment: DOT) และการติดตามผลเป็นเวลา 28 วันเพื่อให้แน่ใจว่า ได้รับการรักษาที่ครบสมบูรณ์และได้รับการรักษาซ้ำกรณีที่ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ
CASE STUDY:
การจัดตั้งหน่วยป้องกันและควบคุมมาลาเรียในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียได้ส่งผลให้เกิดการหยุดการแพร่เชื้อมาลาเรียในจังหวัดภูเก็ตจากรายงานการสอบสวนโรคในผู้ป่วย166 รายที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณ2552-2554 แสดงให้เห็นว่ามีการหยุดการแพร่เชื้อในพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอโดยในช่วงเวลาดังกล่าวนี้พบผู้ป่วยเพียง5 รายที่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่โดยผู้ป่วยแต่ละคนมาจากหมู่บ้านหรือแคมป์คนงานที่ต่างกันออกไปเนื่องด้วยศักยภาพที่เข้มแข็งในการเฝ้าระวังเชิงรุกและการตอบโต้อย่างรวดเร็วทำให้ไม่พบกลุ่มของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในชุมชนโดยทีมงานสามารถหยุดยั้งการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากการมีผู้ป่วยเกิดขึ้นแม้เพียงหนึ่งรายมีการพัฒนาศักยภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเพื่อระบุผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากนอกพื้นที, การค้นหาผู้ป่วยที่ติดเชื้อในพื้นที่และการตอบโต้อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการระบาดและการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียในพื้นที่บนเกาะภูเก็ต
ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกจังหวัดภูเก็ตมีคุณสมบัติที่ถือเป็นพื้นที่ปลอดการแพร่เชื้อมาลาเรียจากการช่วยเหลือด้านวิชาการและการสนับสนุนทางการเงินโดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียปัจจุบันรูปแบบการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียที่ประสบความสำเร็จนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วในจังหวัดภูเก็ตและจะถูกสานต่ออย่างยั่งยืนโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตสถาบันคีนันแห่งอเซียจะได้นำรูปแบบนี้ไปขยายเพิ่มเติมด้วยเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลไทย