Small business stories (TH)

การเปลี่ยนแปลงความชอบในปลากัด สู่ความสำเร็จในการสร้างธุรกิจ

ม.ค. 26,2023

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาของการเป็นพนักงานบริษัท คุณณภัทร ตาลธนพนธ์ ในวัย 40 ปี ได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงความชอบในปลากัดไทย ให้เป็นธุรกิจประกอบการของตนเอง ด้วยความตระหนักถึงอัตราการเติบโตของธุรกิจออนไลน์และความสามารถในการเพาะพันธุ์ปลากัดได้จำนวนมากในจังหวัดนครปฐมที่เขาอาศัยอยู่ คุณณภัทรจึงเกิดประกายทางความคิดที่จะซื้อปลากัดที่สวยที่สุดจากผู้เพาะพันธุ์ปลามาเพื่อขายให้กับตลาดต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้เพาะพันธุ์ปลาและผู้ขายต่างก็สงสัยในความคิดของเขา และเห็นตรงกันว่า คุณณภัทรไม่มีช่องทางที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดได้ และยิ่งไปกว่านั้น คุณณภัทรยังไม่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อีกด้วย เพราะแม้ว่าจะลูกค้าสามารถติดต่อได้ แต่คุณณภัทรก็พูดภาษาอังกฤษได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แม้ว่าผู้ขายคนอื่น ๆ จะสงสัยในแนวความคิดของเขา แต่คุณณภัทรเชื่อว่า การตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าไว้เพียงแต่กลุ่มลูกค้าไทยนั้น จะไม่สามารถทำให้ธุรกิจของเขาเติบโตอย่างยั่งยืนและจะทำให้เขาไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนเองรักได้ด้วย เพราะปลากัดไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดูธรรมดาในสายตาลูกค้าในประเทศไทย ดังนั้น จึงมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่มีปริมาณความต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก และในตลาดที่อิ่มตัวอยู่แล้วนี้ ผู้ขายจำเป็นจะต้องลดราคาลงเพื่อให้สามารถดึงดูดลูกค้าได้

เดิมทีปลากัดนั้นมาจากลุ่มแม่น้ำโขง แต่ด้วยสีสันอันสวยงามและความสว่างสดใส ทำให้ปลากัดสามารถดึงดูดผู้ที่สนใจปลาได้จากทั่วทุกมุมโลก ด้วยความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์ของปลากัด บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Apple เองก็เคยใช้รูปปลากัดเป็นภาพพื้นหลังเมื่อเริ่มปล่อยสินค้า iPhone6 ออกสู่ตลาด ทั้งนี้ แม้ปลากัดจะเป็นปลาที่สวยงาม แต่ปลากัดตัวผู้นั้นก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีพฤติกรรมที่ค่อนข้างเกรี้ยวกราด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องจับแยกปลากัดตัวผู้เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลากัดไทย

สำหรับการก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ Bettaberry Thailand ของคุณณภัทรนั้น เขาได้เข้าร่วมการจัดการอบรมของมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์และการวางแผนธุรกิจสำหรับผู้ขายปลากัด ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะสามารถพัฒนาทักษะทางธรุกิจและได้เรียนรู้ช่องทางอื่น ๆ ที่จะสามารถติดต่อกับลูกค้าชาวต่างชาติได้ ระหว่างการจัดอบรมโดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียได้ช่วยให้ผู้ขายปลากัดเข้าใจในการวางแผนธุรกิจ, การตั้งราคา, การใช้สื่อออนไลน์และคุณค่าของการใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายปลากัดาง

คุณณภัทรกล่าวเพิ่มเติมว่า “เวิร์กช็อปครั้งนี้เป็นเวิร์กช็อปที่ดีอย่างมาก” สอนให้เราคิดว่าแทนที่จะขายตัดราคาคนอื่นให้ถูกลง เราได้เรียนรู้ว่า การใช้สื่ออนไลน์ช่วยเราเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างมาก ซึ่งตรงตามความตั้งใจของเราจริงๆ

ถึงแม้ว่า คุณณภัทร ได้เริ่มใช้เฟสบุ๊กเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจก่อนเข้าร่วมเวิร์กช็อปกับ “คีนัน” แต่การได้เรียนรู้จากมืออาชีพในการทำแผนการตลาดสู่ต่างประเทศ ก็ได้ช่วยให้เขามีความมั่นใจมากขึ้นและสามารถบรรลุความฝันได้เร็วยิ่งขึ้น และเมื่อได้รู้จักการใช้เครื่องมือนี้มากยิ่งขึ้น เขาก็ได้รับข้อความสอบถาม เกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าจากผู้สนใจเลี้ยงปลากัดทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยคุณณภัทร ได้ใช้ โปรแกรมกูเกิ้ลช่วยแปลภาษาและสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติ แม้ภาษาจะเป็นเรื่องสับสนบ้าง แต่เขาก็สามารถจัดการส่งสินค้าไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ครบถ้วนถูกต้อง ซึ่งปลากัดจัดว่าเป็นปลาสายพันธุ์ที่แข็งแรง และสามารถดำเนินการส่ง โดยการใส่ในบรรจุภัณฑ์และเติมน้ำได้ปกติ และนั่นทำให้คุณณภัทรสามารถขยายฐานลูกค้าไปได้ไกลถึงประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป ซึ่งยังเป็นฐานลูกค้าใหญ่ที่สุด ณ ปัจจุบันอีกด้วย

คุณณภัทรได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแล้วในปัจจุบัน ทั้งในและต่างประเทศ โดยกรมส่งเสริมการประมงยังได้เชิญ คุณณภัทรให้ร่วมออกโรดโชว์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจปลากัดในประเทศไทย และให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลารายอื่นๆ ถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจจากการเลี้ยงปลาผ่านช่องทางการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดในรูปแบบออนไลน์ และโซเชี่ยล มีเดีย คุณณภัทรยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อมองย้อนกลับไป ไม่นึกไม่ฝันเลยว่าจะมาได้ไกล เช่นดังทุกวันนี้”

เมื่อถามคุณณภัทร ถึงคำแนะนำ ที่อยากฝากต่อไปยังผู้สนใจเป็นประกอบการในอนาคต คุณ ณภัทรกล่าวว่า “เลือกทำในสิ่งที่เรารักและทำให้เป็นงาน และเราจะคิดไม่ถึงเลยว่า เราสามารถสร้างรายได้จากสิ่งเหล่านี้ได้ และพยายามมองดูสิ่งที่เรารัก เราชอบ มาขายในเวลาว่างๆ ใช้ โซเชี่ยล มีเดียอย่างเฟสบุ้ก โดยเราโพสต์บ่อยๆ ทำจนดูบ้าคลั่งก็ว่าได้  ไม่ต้องสนใจใครจะติเตียนอะไร วันหนึ่งจะมีโอกาสวิ่งเข้ามาหาคุณเอง สำหรับผมแล้ว มากกว่าการได้เจอลูกค้า ก็คือการที่ผมได้เจอโค้ช ผู้เป็นครูให้ผมได้ อย่างมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ดังนั้นอย่าหยุดลงมือทำครับ”

นับเป็นเวลากว่า 20 ปี มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการายย่อยและเจ้าของกิจการ ดังเช่น คุณณภัทร เพื่อให้สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ เข้าใจการแสวงหาโอกาสในการทำการตลาด และนำความคิดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล และประสบความสำเร็จต่อไป

หากท่านสนใจอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://www.kenan-asia.org/th/small-business-competitiveness/ 

Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ