Healthy society stories (TH)

ก้าวสำคัญสู่ประเทศปลอดโรคมาลาเรีย

ม.ค. 26,2023

กลยุทธการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อต่อสู่กับโรคมาลาเรีย

ตั้งแต่โครงการกองทุนโลกด้านมาลาเรียเริ่มดำเนินการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการต่อสู้กับโรคมาลาเรียเป็นอย่างมาก โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานมาลาเรียแห่งชาติ ในความพยายามจะทำให้พื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศไทยปลอดจากการแพร่เชื้อมาลาเรียภายในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้การกำกับดูแลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง (Bureau of Vector Borne Diseases: BVBD) คีนันประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้เรื่องโรคมาลาเรียให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มากกว่า 12,000 คน โดยอบรมทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะช่วยปกป้องตนเอง ครอบครัว และชุมชนจากโรคมาลาเรีย ความรู้ที่สำคัญที่นักเรียนได้รับการถ่ายทอดจะช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาวต่อการเจ็บป่วย ช่วยสร้างความปลอดภัยในสุขภาพ และการดูแลสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้นสำหรับชุมชนในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรียในประเทศไทย โครงการเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยกำหนดเป้าหมายการต่อสู้กับโรคมาลาเรียใน 9 จังหวัดตามชายแดนของไทยที่เชื่อมระหว่างประเทศ ไทย–กัมพูชา และไทย-พม่า ที่ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากหลากหลายสาเหตุ ด้วยมีการอพยพเข้าออกของแรงงานข้ามชาติ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ของโรคมาลาเรียจนเกิดการดื้อต่อยารักษา

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพครู พร้อมพัฒนาหลักสูตรมาลาเรียด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ “การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเรื่องโรคมาลาเรีย (Behavior Change Communication: BCC)” เพื่อนำไปสอนให้แก่นักเรียนในสถานศึกษากว่า 152 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ หลักสูตรได้บรรจุรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้าใจง่ายและนำไปปฎิบัติได้จริงในชั้นเรียนให้แก่ครู ในรูปแบบของการจัดทำ “สคริปท์” ประกอบกับอุปกรณ์การเรียนรู้ที่เป็นมิตรกับเด็ก เช่น หนังสือการ์ตูน แผ่นพลิก และวิดีโอการเรียนรู้ด้วยตนเอง

นางศิริวรรณ ทาหว่างกัน แนะนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายมาลาเรีย ในเรื่องความเสี่ยงและการป้องกันโรคมาลาเรียโดยใช้เทคนิค “การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”

“ด้วยวิธีการสอนที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนสนุกและมีความสุขในการเรียนรู้มากขึ้น จนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปกป้องตนเองจากโรค และที่สำคัญสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปสู่ผู้ปกครอง รวมถึงชุมชนของพวกเขา” นางศิริวรรณ ทาหว่างกัน ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย จังหวัดตาก ได้กล่าวถึงโครงการนี้ผลจากโครงการกองทุนโลกด้านมาลาเรีย ครูผู้สอนและผู้อำนวยการโรงเรียนกว่า 1,207 คน ได้รับการอบรมตามหลักสูตรดังกล่าว และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มากกว่า 12,823 ได้รับประโยชน์จากโครงการ ตลอดระเวลา 5 ปีของการดำเนินโครงการ แม้ว่าโครงการจะจบลงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 แต่ทักษะการป้องกันและความรู้ก็จะยังคงอยู่ในชุมชนสืบต่อไป ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยปกป้องชุมชนให้ปราศจากโรคมาลาเรีย

ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการอีกด้านหนึ่งก็คือ ความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการต้นแบบ “การยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในจังหวัดตราด” โครงการดำเนินการผ่านความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยคีนันได้ดำเนินการจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น และพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ เพื่อการยับยั้งโรคมาลาเรียตามนโยบายหลักของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ในจังหวัดตราดพบผู้ป่วยมาลาเรียกว่า 304 ราย และจากข้อมูลล่าสุดในปีที่ผ่านมา (ปี 2558) พบผู้ป่วยเพียง 95 ราย ซึ่งลดลงถึง 31.25% ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสนับสนุนว่าจังหวัดตราดให้ก้าวไปสู่จังหวัดปลอดโรคมาลาเรียอย่างแท้จริง

หากมองย้อนกลับไป กว่าห้าปีของการทำงาน คีนันมีความภูมิใจที่ได้ให้การช่วยเหลือชุมชนตามเขตชายแดนที่มีความเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย ผ่านการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การมอบความรู้ที่ถูกต้องเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย คีนันเชื่อว่า กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรที่ยึดตามรูปแบบ BCC จะยังคงอยู่ในหลายร้อยโรงเรียนในอนาคต และจะส่งผลไปสู่นักเรียนหลายแสนคน รวมถึงครอบครัวของพวกเขา เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ประเทศที่ปลอดโรคมาลาเรียในที่สุด

Share this article

Latest.

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ