Education stories (TH)

บุคลากรในแวดวงการศึกษา จะช่วยมอบขุมทรัพย์อันล้ำค่าให้กับนักเรียนไทย

ม.ค. 26,2023

เป็นวันที่อากาศร้อนอบอ้าววันหนึ่ง ณ จังหวัดนครนายก ที่ทีมงานจากมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียได้รับเกียรติร่วมนั่งสนทนากับคุณ สุชญา บำรุงกิจ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ถึงมุมมองการศึกษาไทย ณ ขณะนี้  สิ่งที่เราประทับใจเป็นอย่างยิ่งก็คือบุคลากรทางการศึกษาล้วนเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจที่จะยกระดับความเท่าเทียม และร่วมมือกันพัฒนานักเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้เติบโตเป็นบุคลการที่สำคัญของประเทศในภายภาคหน้า

เมื่อมองถึงการศึกษาไทย ณ ปัจจุบัน เราจะพบว่าโรงเรียนหลายแห่งตามตัวเมืองจังหวัดใหญ่ต่างมีทุนทรัพย์เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยได้เพียงพอต่อกระบวนการเรียนการสอน ในทางตรงกันข้ามนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลต้องเข้าชั้นเรียนเพื่อท่องจำเนื้อหาจากตำราเล่มเก่าและใช้อุปกรณ์การเรียนที่ยังไม่ทัดเทียมกัน ดังนั้นแล้ว หากกล่าวถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อาทิ การคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรรค์และการทำงานร่วมกันเป็นทีม และรู้จักนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ควบคู่กับแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในสาขาวิชาสะเต็มศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ดูเหมือนว่าการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล ยังขาดหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับทักษะฯ ดังกล่าวอยู่มาก

คุณสุชญากล่าวเสริมว่า แท้จริงแล้วเข้าใจมาตลอดถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นให้ครูเปลี่ยนวิธีการสอนจากรูปแบบท่องจำไปสู่การให้ลงมือปฎิบัติจริง ซึ่งนับเป็นความท้าทายพอสมควร แต่เรื่องราวดีๆ ก็ได้เกิดขึ้นเมื่อตอนได้รับเชิญจากมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียให้เข้าร่วมโครงการโบอิ้งยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ในปี 2553 สนับสนุนงบประมาณโดย บริษัทโบอิ้ง นับจากนั้นเป็นต้นมา คุณสุชญา ก็ยังได้ช่วยโครงการฯสรรหาบุคลากรด้านการศึกษา ให้เข้าร่วมฝึกอบรมมาโดยตลอด เหตุผลก็คือโครงการได้มอบความรู้ให้นำไปใช้ได้จริง

โครงการโบอิ้ง ยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี มุ่งเน้นให้ครูไทยเข้าใจถึง โมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จากทางคีนัน โดยครูไทยควรได้รับการส่งเสริม การฝึกอบรมวิชาชีพขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง ได้รับการดูแลฝึกฝนจากกลุ่มศึกษานิเทศน์เพื่อนำยุทธวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสม มาปรับใช้ให้เกิดการได้ลงมือปฎิบัติจริง และนำผลการวิจัย รวมถึงเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในรูปแบบสากลมาใช้ให้สอดคล้องไปกับหลักสูตร โดยโมเดลรูปแบบนี้จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะคิดไปข้างหน้า เช่น การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานและการตั้งคำถามกับเรื่องที่เรียน ซึ่งจะทำให้ครูผู้สอนเปรียบเสมือน โค้ชผู้จุดประกายความใฝ่รู้และชี้นำทางที่ถูกต้องให้กับนักเรียน มากกว่าการเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างเพียงคนเดียว

นับตั้งแต่โรงเรียนที่คุณสุชญาสังกัดอยู่  ได้นำโมเดลดังกล่าวไปปรับใช้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ปีที่ 6 สิ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดก็คือ นักเรียนต่างเริ่มเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน อาทิโครงการทดลองทำอุปกรณ์กรองน้ำ ซึ่งเด็กนักเรียนได้รับโจทย์ให้แก้ไขน้ำขุ่นที่มีดินโคลนปะปนอยู่ โดยครูผู้สอนไม่ได้บอกรายละเอียดการลงมือทำแต่อย่างใด หากแต่ตั้งคำถามให้เกิดการคิดวิเคราะห์ อาทิ วัตถุอะไรมีประโยชน์ในการช่วยกรองตะกอน และน้ำยังไหลผ่านได้ เป็นต้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วนักเรียนต่างมีคำตอบหลากหลาย เช่นใช้เสื้อเก่าที่มีรอยขาด หรือตาข่ายดักปลา โดยไม่ว่าจะวัสดุเหล่านี้จะใช้ได้หรือไม่ นักเรียนต่างก็ได้คิดและค้นพบคำตอบในท้ายที่สุด

กิจกรรมดังกล่าวยังมิจบเพียงเท่านี้ หลังจากกรองน้ำให้สะอาดเป็นแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นดินโคลนยังสามารถต่อยอดกระบวนการคิด เพื่อผลิตผลเพิ่มเติมได้ โดยครูตั้งโจทย์อีกครั้งให้นักเรียนใช้ดินเหลือทิ้งนี้ ปั้นรูปปั้นขึ้นมา 1 ชิ้น ซึ่งเป็นอะไรก็ได้ เช่น ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ ครั้งนี้นักเรียนหลายคนทำดินแตกออกเป็นเสี่ยง ครูผู้สอนจึงอธิบายเพิ่มเติม ว่าการให้ดินผ่านความร้อนสามารถช่วยให้จับกันเป็นก้อนได้

หลังจากได้นำดินไปผ่านความร้อนแล้ว ดินก็ยังไม่จับตัวเป็นก้อนและยังแตกออก สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไปก็คือ กระบวนการใช้ความร้อน ต้องผ่านให้ทั่วถึงพื้นที่ทั้งหมดของดิน ครั้งนี้เด็กจึงถูกตั้งคำถามให้คิดต่อ ในกระบวนการถัดไป โดยสิ่งที่น่าเหลือเชื่อหลังจากนั้นก็คือ  เด็กๆได้คิดถึงจานรองหมุนในเครื่องไมโครเวฟที่มีลักษณะหมุนรอบ จนความร้อนผ่านทั่วถึงครอบคลุมได้ทั้งหมด และก็นั่นก็กลายเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับโครงงานนี้

คุณสุชญา ยังได้บรรยายถึงความรู้สึกยอดเยี่ยมที่ได้เห็นการเรียนรู้ในลักษณะที่สอนให้เด็กนักเรียนได้คิดและวิเคราะห์กระบวนการทั้งหมด รู้จักทำงานเป็นทีม และช่วยกันระดมความคิดสร้างสรรค์ออกมา การได้สัมผัสการทำงานจนได้คิดซ้ำไปซ้ำมา เปรียบเสมือนการสอนให้เด็กนักเรียน ได้รู้จักค้นหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงรู้จักว่าอะไรทำแล้วล้มเหลว และผลักดันให้คิดต่อไปจนค้าหาคำตอบที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ซึ่ง คุณสุชญา มองว่า อย่างหลังถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะในอดีต เด็กนักเรียนรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว เพียงแค่โดนตำหนิว่าจดจำไม่เก่งจึงเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากเดินไปต่อ

การได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการโบอิ้งยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีช่วยเพิ่มพูนมุมมองให้กับคุณสุชญาในการพัฒนาทักษะครูผู้สอนให้สอดคล้องไปกับแผนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยประสบการณ์ที่ได้รับตลอด 8 ปี เต็ม คุณสุชญา กล่าวว่า “ดีใจที่ได้เห็นนักเรียนไทยค้นพบหนทางที่ถูกต้องและหนทางนี้เอง คือขุมทรัพย์อันล้ำค่า และก็เป็นหัวใจของการศึกษาที่แท้จริง”

โมเดลการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ของคีนัน ได้ถูกนำไปใช้เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาในหลายๆจังหวัดทั่วประเทศ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านการศึกษาดังเช่นคุณสุชญาและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ให้กับนักเรียนไทยในพื้นที่ห่างไกลให้ถึงขีดความสามารถสูงสุด

คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดงานของเราเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเดลการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ของคีนัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

Share this article

Latest.

โครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง: เคล็ด (ไม่ลับ) เพื่อ “แม่หญิงเจ้าของธุรกิจ”เติมไฟแห่งความหวัง สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

เส้นทางการประกอบอาชีพของ

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ