ผู้เขียน: คุณพีรานันต์ ปัญญาวรานันท์
การพัฒนาโครงการด้าน CSR หรือ โครงการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสังคมชุมชนนั้นๆ ความซับซ้อนอยู่ที่ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลาย นับตั้งแต่ชุมชน สถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น องค์กรอิสระ ภาครัฐ กลุ่ม NGO หรือบริษัทคู่ค้าอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาที่สามารถส่งผลคุณภาพชีวิตในสังคมนั้นๆ พัฒนาขึ้น นอกเหนือจากดำเนินงานเพื่อผลสำเร็จ ยังมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความสัมพันธ์บนความหลากหลายธรรมชาติวัฒนธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไปสู่ความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วน (Partnership) ทำงานร่วมกันเพื่อเป้าประสงค์สุดท้ายร่วมกันมิใช่เป็นเพียงผู้ให้ผู้รับ ภารกิจนี้เปรียบเสมือนงานศิลปะ เพราะต้องใช้ทักษะการสังเกต การสื่อสาร สู่การผสมผสานที่เหมาะสมตามบริบทและกาลเวลาเป็นเรื่องที่ลอกเลียนแบบกันได้ยาก
ยิ่งโครงการฯ มีเป้าหมายที่จะสร้างผลกระทบในเชิงกว้าง ในประเด็นที่เป็นวาระแห่งชาติ เชื่อมโยงระหว่างประเทศ ยิ่งต้องมีหลักในการพัฒนาและสร้างหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกัน เพื่อสร้างความสำเร็จให้โครงการฯ และสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ในระยะยาวจากการดำเนินงานในการพัฒนาระหว่างประเทศทำให้ทางคีนันได้ค้นพบหลักสำคัญในการพัฒนาหุ้นส่วนของโครงการด้าน CSR หรือ โครงการด้านความยั่งยืน 4 ข้อคือ
1. โครงการนั้นๆ จะต้องออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของสังคม ชุมชน เป็นสำคัญ (demand driven) สามารถประสานความสำเร็จร่วมกัน และตรงตามประสงค์ในเชิงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Development Goal)
2. มีการลงขันทรัพยากรกันไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบทุนทางสังคม การศึกษา วัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญ ไปถึงพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือต่างๆ และอาจหมายถึงเงินสนับสนุน เพื่อมุ่งสู่ความคุ้มค่า สูงสุดสถาบันคีนันจึงมีการดำเนินโครงการทั้งหมด 4 ขั้นตอนเพื่อการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ และสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนตัวเองดังนี้
3. ส่งเสริมองค์กรหุ้นส่วนกันในจุดเด่น จุดต่าง ในจังหวะจะโคนที่ไม่ขัดกันเอง เมื่อสมบูรณ์แบบแล้วที่กลายเป็นภาพจิ๊กซอที่สวยงาม บทบาทหน้าที่ต้องชัดเจน2. การเรียนรู้ผ่านการทำโครงการ (Project-based learning) เนื่องจากแผนปฏิบัติการทุกโครงการต้องผ่านการสำรวจ คิด ออกแบบ วางแผน ปฏิบัติ และประเมินผล เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจึงได้พัฒนาทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการลงมือที่หน้างานจริง สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-learning) ซึ่งเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในอนาคต
4. มีการเชื่อมโยงข้ามรูปแบบของสังคม เศรษฐกิจหรือวัฒนธรรม เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมในฐานความรู้และภูมิปัญญาแบบไฮบริด (Hybrid) มีความเข้าอกเข้าใจในคนและวัฒนธรรม เช่นจากประเทศไทยสู่ประเทศเพื่อนอาเซียน หรือระหว่างทวีป ซึ่งในความเป็นจริงจากประสบการณ์ในการทำงานพัฒนาระหว่างประเทศแล้วพบว่า องค์กรในประเทศต่างๆนั้นพยายามมองหาความร่วมมือในการพัฒนาและเรียนรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืนเพื่อนำมาใช้ประเทศตนเองอยู่แล้ว การเชื่อมโยงแบบนี้ทำให้มุมมองที่กว้างไกลขึ้น ความสามารถในการขยายผลโครงการนำไปสู่ทรัพยากร ทุนสังคม และทุนอื่นๆ ได้มากขึ้น
ศิลปะของการพัฒนาหุ้นส่วนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ศิลปะแห่งการมีความยืดหยุ่น (Flexible) และศิลปะอย่างที่สองคือ พลังแห่งการดำเนินงานและประสานเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Oriented) ที่จับต้องได้ (Tangible) และเมื่อสองสิ่งรวมกันแล้วก็จะทำให้เกิดการเติบโตขึ้น (Growth) การพูดคุย ระหว่างกันจึงเน้นสองศิลปะนี้เป็นสำคัญ และไม่ใช่ทุกองค์กรจะสามารถเป็นหุ้นส่วนกันได้อย่างง่ายดาย
ทักษะการสร้างหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นทักษะที่สำคัญที่ลำบากตอนต้น ยอมบ้าง ไม่ยอมบ้าง อย่างมีเหตุผล เพื่อให้ลงจังหวะเป็นอย่างดี หากแต่การมีความแข็งแรงด้านทักษะนี้ในอนาคตก็จะสามารถพัฒนาโครงการต่างๆ ไปสู่ผลกระทบในเชิงกว้าง ทั้งในพื้นที่และภูมิภาค สร้างเพื่อน สร้างงาน สร้างสร้างนวัตกรรม สร้างความเจริญ เพราะในท้ายที่สุดเราต่างก็อยู่ร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกันในโลกใบนี้
*ดังบทความที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนโดยไทยเบฟ