Community stories (TH)

เส้นทางแห่งการเรียนรู้สู่การท่องเที่ยวชุมชน

ม.ค. 26,2023

ธนกันต์ แก้วปาน เป็นหนึ่งในสมาชิกชุมชนลีเล็ดใน จ.สุราษฎร์ธานี ผู้ร่วมพัฒนากลุ่มท่องเที่ยวชุมชนลีเล็ดมานานกว่า 13 ปีแล้ว กลุ่มท่องเที่ยวแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยกำนันประเสริฐ ชัญจุกรณ์ โดยมีสมาชิกชุมชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วม ปัจจุบันธนกันต์รับหน้าที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวและช่วยงานต่างๆ เช่นเดียวกับเพื่อนๆ ของเขาที่เต็มใจทำงานให้กลุ่มท่องเที่ยวโดยไม่รับค่าจ้าง ธนกันต์มีความฝันอยากทำงานด้านท่องเที่ยวและอยากมีรายได้มากขึ้น แต่ไม่ได้เรียนด้านนี้มาโดยตรง ก่อนหน้านี้เขาไม่ค่อยกล้าพูดและยังไม่มีความรู้เรื่องการท่องเที่ยวชุมชนมากนัก เขาเคยช่วยครอบครัวทำฟาร์มเลี้ยงวัวมาก่อน

ในภาคใต้ยังมีเยาวชนจำนวนหนึ่งที่เต็มไปด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ แต่กลับขาดโอกาสทางการศึกษา และขาดทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาอาชีพและธุรกิจให้กับชุมชน ในขณะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ได้ดำเนินโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี 10 กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเข้าร่วม รวมถึงกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนลีเล็ด หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของโครงการคือการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกชุมชนเช่นธนกันต์ เพื่อให้เขาสามารถสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวพร้อมๆ ไปกับพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คีนันได้พัฒนากิจกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาการบริหารจัดการและทรัพยากรบุคคลของกลุ่มท่องเที่ยว โดยร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นจัดอบรมและอบรมเชิงปฏิบัติการแก่หัวหน้าและสมาชิกกลุ่มรวมกว่า 1,000 คน กิจกรรมรวมกว่า 13 ครั้งครอบคลุมตั้งแต่เรื่องธุรกิจการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของผู้นำ การบริหารจัดการเบื้องต้น ตลอดจนเทคนิคการบรรยายแก่นักท่องเที่ยวและการทำการตลาดออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อยกระดับศักยภาพชุมชนผ่านการสร้างคนรุ่นใหม่และการใช้สื่อออนไลน์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น

การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของธนกันต์และเพื่อนๆ ส่งผลให้กำนันประเสริฐสนับสนุนให้พวกเขาได้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะด้านการบรรยายสำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ทำให้ธนกันต์เรียนรู้ที่จะเล่าเรื่องชุมชนอย่างมั่นใจ กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในทุกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้สมาชิกกลุ่มสามารถปรับบทเรียนให้เข้ากับพื้นที่การทำงานของตนเองได้ ธนกันต์ยังได้เข้าร่วมการอบรมการตลาดออนไลน์ทำให้เขารู้แนวทางการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการโปรโมทการท่องเที่ยวชุมชน

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้กำนันประเสริฐจะไม่มั่นใจในศักยภาพด้านมัคคุเทศก์ของทีมงานมากนัก แต่หลังจากการอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กำนันประเสริฐได้เปิดโอกาสให้สมาชิกที่ผ่านการอบรมรวมถึงธนกันต์ได้ทดลองทำหน้าที่มัคคุเทศก์ และปัจจุบันเขาสามารถทำหน้าที่ผู้ช่วยมัคคุเทศก์ของกำนันประเสริฐได้เป็นอย่างดี “ยิ่งผมรู้จักชุมชนมากเท่าไหร่ ผมก็ยิ่งมั่นใจที่จะเล่าเรื่องราวของลีเล็ดให้นักท่องเที่ยวฟังมากเท่านั้น ขอบคุณกำนันประเสริฐที่ให้โอกาสผมในการแสดงความสามารถและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 3,000 บาท” ธนกันต์เล่าด้วยความภูมิใจ ปัจจุบันเขายังทำหน้าที่แอดมินประจำเฟซบุ้คแฟนเพจของชุมชมลีเล็ด และเป็นผู้นำเรื่องราวดีๆ แชร์ขึ้นโลกโซเชียลเป็นประจำ เรียกได้ว่าธนกันต์กำลังก้าวเดินอยู่บนเส้นทางที่เขาฝันไว้

รายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คลิกที่นี่

Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ