Blog (TH)

5 ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่เราเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต!

ม.ค. 26,2023

ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ จริงหรือมั่วชัวร์หรือไม่? เรามาพิสูจน์กันค่ะ

1. ในอวกาศมีเสียง

แม้ว่าในภาพยนตร์ “สตาร์ วอร์ส” ของผู้กำกับจอร์จ ลูคัส จะยิงกันสนั่นลั่นกาแลกซี แต่ในความเป็นจริงเสียงเป็นคลื่นกลซึ่งต้องใช้ตัวกลางในการเดินทาง จึงไม่สามารถเดินทางได้ในสภาพสุญญากาศ ดังนั้นอวกาศจึงไม่มีเสียงค่ะ
2. ค้างคาวตาบอด

ความจริงแล้วค้างคาวไม่ได้ตาบอดนะคะ เพียงแค่มีระบบนำทางแสนวิเศษไว้ใช้เวลาบินออกหาอาหารยามค่ำคืน ที่เรียกว่า เอกโคโลเคชั่น (Echolocation) ซึ่งทำงานคล้ายระบบโซนาร์ที่ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป หากคลื่นกระทบสิ่งกีดขวางก็จะสั่งการไปยังสมองให้เปลี่ยนทิศทางการบินทันที
3. คนถนัดสมองซีกขวาเป็นนักสร้างสรรค์ คนถนัดสมองซีกซ้ายเป็นนักวิเคราะห์

เป็นความจริงที่ว่าสมองคนเรามีสองซีก แต่จากการวิจัยล่าสุดพบว่าสมองทั้งสองซีกต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือเวลาที่ใช้ความคิดด้านเหตุผลหรือการคิดคำนวณก็ตาม
4. หมากฝรั่งต้องใช้เวลาย่อยถึง 7 ปี!

ไม่ต้องตกใจถ้าเผลอกลืนหมากฝรั่งลงกระเพาะ เพราะไม่จริงเลยที่จะต้องรอย่อยสลายถึง 7 ปี เพียงแค่ 2-3 วันหมากฝรั่งที่ถูกกลืนลงท้องก็จะถูกส่งออกมาทางระบบขับถ่ายแล้วค่ะ
5. ฟ้าผ่าไม่เคยเกิดซ้ำที่เดิม

ในความเป็นจริงตึกสูงเสียดฟ้าในปัจจุบันมีโอกาสถูกฟ้าผ่าซ้ำๆ ได้ตลอดเวลาค่ะ เป็นต้นว่าตึกเอมไพรสเตทในสหรัฐอเมริกาที่ถูกฟ้าผ่าปีละเกือบ 100 ครั้งเลยนะคะ ดังนั้นอาคารบ้านเรือนที่มีความเสี่ยงจึงต้องอุปกรณ์การป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าไว้เสมอ
การปลูกฝังความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับชีวิตประจำวันแก่เยาวชน เป็นหัวใจสำคัญข้อหนึ่งในการดำเนินโครงการด้านนวัตกรรมการศึกษาของมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เรามีตัวอย่างของน้องคนเก่งที่เข้าร่วมโครงการและสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประดิษฐ์อุปกรณ์จับกบเพื่อใช้ในอาชีพจับปลาของครอบครัว คลิกดู link เพื่อให้กำลังใจน้องด้วยนะคะ

Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ