Blog (TH)

โมเดลการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ที่ 5

ม.ค. 26,2023

ผู้เขียน: คุณพีรานันต์ ปัญญาวรานันท์

กิจกรรมด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน เป็นกิจกรรมที่ได้รับการชื่นชมทั้งในการตั้งวงพูดคุยและกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ กิจกรรมด้านนี้จึงโดนบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่เป็นกิจกรรมอาสาสมัครพนักงาน กิจกรรมการบริจาคเพื่อกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการความช่วยเหลือรวมไปถึงโครงการเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในรูปแบบงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืนระยะยาวตามมาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งปรากฏในนโยบายของภาครัฐและส่วนท้องถิ่น การทำงานด้านเด็กและเยาวชนมีการพัฒนาไปสู่ความหลากหลาย ทั้งในเชิงพื้นที่สู่นวัตกรรมการเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะชีวิตและการเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21

ในฐานะนักพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน เชื่อว่าเราหลายๆคนต่างมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะสรรหาวิธีที่เหมาะสมในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ทั้งในกลุ่มอัจฉริยะเยี่ยมยอด และกลุ่มด้อยโอกาสทั้งนี้เพื่อสร้างผลกระทบที่ดีในสังคม ทำให้บางครั้งเราให้น้ำหนักและความสนใจในการชี้นำ ดัดนิสัย จัดแต่งความคิด ให้เด็กและเยาวชนเป็นไปตามความคาดหวัง และความปราถนาดีจนทำให้เด็กและเยาวชนเป็นเสมือน “เครื่องมือ” ในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านประเด็นสังคมระดับในประเทศหรือประเด็นสังคมระดับโลก อย่างไรก็ตามความคิดด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เคยมีมานั้นมีอันต้องกระเพื่อมไหว เมื่อได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มหาสมุทรในน้ำหยดเดียว (Ocean in a Drop) การสร้างพื้นที่ที่ให้พลังสำหรับเยาวชน ซึ่งจัดโดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต (Leadership for the Future) นำกระบวนการโดย 3 วิทยากร ขององค์กรที่ชื่อว่า ปราว่า (Pravah) จากประเทศอินเดีย ในระหว่างการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ทำให้ได้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากองค์กรด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้มีโอกาสทบทวนประสบการณ์ในการพัฒนาเยาวชนในอดีตที่ผ่านมาว่า เราเห็นมุมมองเยาวชนด้วยเลนส์ Lens แบบไหน ข้อสรุปที่ทำให้เรารู้สึกร่วมกันคือ ส่วนใหญ่มองคล้ายๆ กันคือเห็นเป็นปัญหาบ้าง เป็นความหวังบ้าง เป็นแหล่งแรงงานที่สำคัญกับเศรษฐกิจในอนาคต บ้างก็เห็นเป็นตัวกลางในการส่งผ่านคุณค่า แนวคิดเชิงสังคม เชิงวัฒนธรรม แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งมุมที่ยังไม่ค่อยมีคนพูดถึง หรือบางครั้งเรายังไม่ได้ตั้งใจมองอย่างจริงจัง นั้นคือการมองเด็กและเยาวชน เข้าไปภายใน แบบปัจเจกบุคคล แบบที่เยาวชนเป็นตัวของเค้าเอง มีศักยภาพ มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง เข้าใจตนเอง ซึ่งจะไปสู่การพัฒนาที่มีความหมาย ด้วยแรงจูงใจของตนเองและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งหากเราเลือกมองเยาวชนจากมุมภายในนี้ก็จะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาตนเองจากภายในสู่ภายนอก (Inside Out) ในรูปแบบการพัฒนาแบบเสริมพลัง (Empower) แม้ในวันที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะต้องปรับสภาพของตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เข้ามากระทบ ก็จะสามารถยืนหยัดรักษาคุณค่า ที่ศักยภาพของตนเองค้นหาเจอได้ และสร้างประโยชน์สุขให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมในภาพรวมได้

ชื่อที่น่ารักและมีความหมาย The Ocean in a Drop หรือ มหาสมุทรในน้ำหยดเดียว เป็นคำพูดของมหากวีรูมี (Rumi) ซึ่งเกิดเมื่อ ค.ศ.1207 เป็นชาวเมืองบาร์ค (Balkh) เมืองหลวงของแคว้นโคระซาน (Khorazan) ในดินแดนทางตะวันออกสุดของเปอร์เซีย ปัจจุบันเมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอัฟกานิสถาน มหากวีรูมี (Rumi) กล่าวว่า “You are not a drop in the ocean. You are the entire ocean in a drop.- คุณไม่ใช่เป็นเพียงแค่หยดน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร แต่มหาสมุทรทั้งหมดอยู่ในหยดน้ำของคุณ

ในบทกวีนี้ มหากวีรูมี (Rumi) ได้ฝากความหมายไว้คือ เราทุกคนต่างมีพลังงานและศักยภาพอันยิ่งใหญ่ในตนเอง ความสามารถที่เราต้องการเพื่อสร้างความสำเร็จ การพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้น นั้นล้วนแล้วแต่พลังในตัวเราทั้งสิ้น และบทกวีนี้เอง ได้กลายเป็นโมเดลในการพัฒนาเยาวชนขององค์กรที่ชื่อว่า ปราว่า (Pravah) ซึ่งตั้งอยู่ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งตั้งมาในปี 1993 ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ที่ให้พลังกับเยาวชน ด้วยแนวคิดพื้นที่ที่ 5 (5th space) ด้วยความเชื่อที่ว่าการเสริมพลังอย่างแท้จริงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ใส่ใจด้วยตนเอง คนอื่นนั้นทำได้อย่างมากที่สุดคือการสร้างบริบทและพื้นที่ ที่จะเอื้อให้เกิดกระบวนการที่เสริมพลังดังกล่าว องค์กรปราว่า ยังเห็นว่าน่าเสียดายที่โลกนี้ถูกครอบครองและควบคุมโดยผู้ใหญ่ พื้นที่ส่วนมากของเยาวชนนั้น ก็จะมีกฏเกณฑ์ต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใหญ่ และเยาวชนก็ถูกคาดหวังให้ทำตามกฏเล่านั้น

องค์กรปราว่า เชื่อว่าโดยทั่วไปแล้วสังคมตามธรรมเนียมปฏิบัติเราได้สร้างพื้นที่ “ที่ถูกต้องเหมาะสม” 4 ด้านให้กับเยาวชน คือพื้นที่ของครอบครัว เพื่อน การใช้ชีวิต/การศึกษา และการพักผ่อน/ไลฟ์สไตล์ ซึ่งรวมถึงการกีฬา ศาสนา และการพักผ่อนหย่อนใจ องค์กรปราว่าคิดว่า พื้นที่ที่ 5 นั้นต้องทำให้เป็นพื้นที่ที่มุ่งเน้นไปยังการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองของเยาวชน มากเท่าๆกับการเป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านพวกเขา เพราะหากพื้นที่ที่ 5 เจริญงอกงาม ก็กลายเป็นทักษะแห่งชีวิต ที่จะสามารถช่วยให้พวกเขาได้ใช้ศักยภาพไปสู่วงโคจรด้านอื่นๆ ของชีวิตเขาได้ อย่างประสบความสำเร็จ

Subscribe to our monthly newsletter


Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ