Education

ร่วมกับคีนันไขรหัสลับแห่งวิทยาศาสตร์

ม.ค. 26,2023

ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ช่วงต้นปีพ.ศ. 2523 ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ มักจะพบความงดงามในวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเพื่อนของเธอส่องดูตัวอย่างผ่านกล้องจุลทรรศน์ ในฐานะนักเรียน เธอรู้สึกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ การเติบโตบนพื้นฐานจากครอบครัวที่ให้ความสนใจพัฒนาด้านการศึกษา เธอพบว่าการให้ความช่วยเหลือนักเรียนไทยรุ่นใหม่นั้น น่าจะเป็นตัวเลือกทางอาชีพของเธอ วันนี้การดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ของดร.อ้อมใจ ทำให้เธอสามารถดำเนินตามรอยความฝันในวัยเด็กด้วยการทำงานอย่างมุ่งมั่น และทุ่มเทเพื่อสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สร้างการตระหนักต่อความสำคัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคม

Dr. Omjai Saimek

ในช่วงแรกเธอเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้นำใน สวทช. เมื่อปีพ.ศ. 2531 ก่อนที่สำนักงานจะถูกแยกออกมาเป็นองค์กรอิสระในปี พ.ศ. 2534 นอกจากการดำรงบทบาทการเป็นผู้วิเคราะห์โครงการและนักวิจัยในโครงการของไบโอเทคแล้ว ทุกวันนี้ เธอยังคงดำเนินงานพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์ในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย และสร้างความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย พร้อมกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการนำวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อีกด้วย” บทบาทของเธอทำให้เธอได้เป็นผู้นำในการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย นอกจากนี้ ดร. อ้อมใจเอง ยังตั้งเป้าหมายสำคัญ 2 ประการให้กับตนเองอีกด้วย นั่นคือ การสร้างโอกาสทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและการสร้างโปรไฟล์ให้กับสวทช.

แม้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นหนึ่งใน 4 ภารกิจสำคัญของสวทช. แต่ดร.อ้อมใจก็ยังประสบปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณ และความต้องการที่หลากหลายกันไปจากองค์กรอื่น ๆ ที่มองหาวิธีการสร้างความตระหนักในสังคมเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ด้วยความเป็นจริงที่ว่า งบประมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสวทช. นั้นมีเพียงร้อยละ10 ของงบประมาณทั้งหมด ดังนั้น ดร.อ้อมใจจึงต้องร่วมมือกับผู้สนับสนุนกองทุนหากเธอต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้ได้

ดร.อ้อมใจ มีโอกาสรู้จักมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ในการพัฒนาการศึกษาในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2555 ซึ่งคีนันกำลังทำงานร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM) ใน 10 จังหวัดของประเทศไทยอยู่ ทั้งนี้ แม้ว่าเธอจะไม่ได้อยู่ในโครงการดังกล่าว แต่เธอกลับมีความสนใจในตัวโครงการนั้นอย่างมากเพราะเป้าหมายของโครงการและความประทับใจที่มีต่อการทำงานของคีนันและทีมงาน ดังนั้น เมื่อสถาบันคีนันฯ เชิญชวนให้เธอเข้าร่วมกับโครงการ Chevron Enjoy Science ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาสะเต็มศึกษาในประเทศไทย ที่มุ่งสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของสะเต็มศึกษาเพื่อการแข่งขันระดับชาติแล้ว เธอก็ไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมทันที

การทำงานร่วมกับทีมงานการศึกษาของคีนัน เธอจะได้รับความมั่นใจว่าโครงการนั้นจะได้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและด้านเทคนิค โครงการริเริ่มอันเป็นสัญลักษณ์ของสวทช.ในชื่อ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย หรือ Thailand Children’s University (TCU)” ที่ได้นำวิธีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบยึดการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based education) มาใช้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่จัดการดำเนินการโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการ TCU ได้เริ่มต้นอย่างแข็งขัน อย่างไรก็ดี โครงการยังคงขาดเงินทุนที่จำเป็นในการพัฒนาสู่เป้าหมาย การวางแผนโครงการก็ไม่สามารถเป็นไปตามมาตรฐานที่มุ่งหวังได้

ผลประโยชน์ประการแรกของการร่วมมือกับกลุ่มผู้ร่วมมืออื่น ๆ คือ ทำให้เกิดความสามารถในการขยายโครงการไปยัง 18 มหาวิทยาลัย จากเดิมที่สวทช.กำหนดไว้ 10 มหาวิทยาลัย สิ่งนี้ยังคงนำไปสู่การขยายกิจกรรมประจำปีจาก 15 กิจกรรมสู่ 63 กิจกรรม และยังสามารถพัฒนาโครงการให้สามารถเข้าถึงนักเรียนกว่า 30,000 คนได้ นอกจากนี้ เราต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่สวทช.ที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของคีนันที่ทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สวทช.ในโครงการได้ และต้องขอบคุณความเข้มงวดในการวางแผนและการวัดผลการประเมินของคีนันด้วย ดร.อ้อมใจได้กล่าวถึงวิธีการที่เป็นระบบนี้ว่าทำให้เจ้าหน้าที่ของเธอ “มีความสามารถและมีความมั่นใจในโครงการ TCU และโครงการต่าง ๆ มากขึ้น” เธอยังคงกล่างถึงความสำเร็จของกิจกรรม TCU นี้ไว้ว่าทำให้เกิด “ความสนใจในนักเรียนมากขึ้น” และ “เพราะโครงการ Enjoy Science นี้ โครงการ TCU จึงสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศได้” สิ่งนี้นับว่ามีความสำคัญกับความเป็นมืออาชีพของดร.อ้อมใจเป็นอย่างมาก เพราะเธอมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อการบรรลุภารกิจของสวทช. ให้ได้ เธอยังกล่าวว่า ผลสำเร็จจากโครงการ TCU นั้นมีส่วนช่วยยกระดับโปรไฟล์ทีมของเธอและยังช่วยทำให้โครงการของสวทช.ที่ดำเนินการร่วมกับสังคมและภาครัฐนั้นมีความโดดเด่นขึ้นด้วย

เมื่อพิจารณาย้อนกลับไปในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ดร.อ้อมใจได้กล่าวว่า “ดิฉันตัดสินใจถูกแล้ว ที่ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ของคีนันเข้าร่วมการเป็นคณะกรรมการของโครงการ TCU (ในฐานะผู้สังเกตการณ์) และได้ร่วมงานกัน คีนันได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในโครงการริเริ่มและกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดผลสำเร็จที่ดีขึ้น”

หากคุณสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ให้ขับเคลื่อนประเทศไทย กรุณากรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลล์ เพื่อรับการติดต่อกลับจากเรา

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ