สู่การยกระดับทักษะสะเต็มศึกษาของเด็กไทย
“ครูสนุกกับการสอนหนังสือมาก เมื่อได้เห็นนักเรียนมีความกระตือรือร้นและมีแรงบันดาลใจ” คำกล่าวจาก ครูศยามล หงษ์ศิลา ครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนวัดห้วยโป่ง จังหวัดระยอง
การคิดหากลวิธีเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกับนักเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าครูผู้สอนจะตั้งใจทำงานให้ออกมาดีเพียงใดก็ตาม หน้าที่ของครูศยามลก็เหมือนกับครูวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆในโรงเรียนรัฐบาล ที่ต้องสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน แม้ว่าครูศยามลจะมีข้อจำกัดอย่างมาก ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงโอกาสที่จะได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะวิชาชีพครู
แม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นอยู่บ้างในการทำงาน แต่ครูศยามลก็ตั้งใจเต็มที่ ที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพื่อสร้างเยาวชนของชาติให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“ ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม เพื่อทำการทดลอง แต่เพราะเรามีนักเรียนมาก แต่ละกลุ่มก็เลยใหญ่เกินไปดังนั้นนักเรียนบางคนจึงไม่ดีรับโอกาสทั่วถึง และไม่ได้ทดลองด้วยตนเอง” เมื่อนักเรียนหลายคนขาดโอกาส การเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการนั่งดูเพียงอย่างเดียวจึงไม่เกิดผลลัพธ์สูงสุด
การสอนวิชาเคมีโดยไม่มีการทดลอง ก็เหมือนกับการฝึกทักษะฟุตบอลโดยไม่มีลูกบอลไว้ยิงประตู –เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ของครูไทยในโรงเรียนหลายแห่งๆ ที่ขาดทรัพยากรที่จำเป็น ทำให้ต้องพึ่งพาการสอนด้วยการเขียนบนกระดานดำแบบดั้งเดิม และใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบท่องจำกับนักเรียนในชั้นเรียน
ในปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา คีนันร่วมกับมูลนิธิไอวีแอล จัดโครงการพัฒนาวิชาชีพครูขึ้นในจังหวัดระยองเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และส่งเสริมให้กับครูไทยเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาไทย ซึ่งครูศยามลก็ได้เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับเพื่อนครูจากโรงเรียนอื่นๆ อีกกว่า30 คน โดยนอกจากหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแล้ว ครูผู้เข้าร่วมโครงการฯ ยังได้รับอุปกรณ์การเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในห้องทดลองของโรงเรียน
การเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลองจริง และคิดคนคำตอบด้วยตนเองถือเป็นผลผลิตด้านการศึกษาที่ยั่งยืน
ครูศยามลกล่าวเพิ่มเติมว่า “ โครงการช่วยสร้างการเปลี่ยนเปลงในห้องเรียน ตอนนี้ครูสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ได้แล้วเพราะเรามีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทดลอง”
“หลังจากที่ครูเริ่มนำเทคนิคการสอนจากโครงการมาใช้ในห้องเรียน จะเห็นได้ชัดว่านักเรียนเริ่มที่จะรักการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น นักเรียนกล้าคิดด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นและกล้านำเสนออย่างเปิดเผย ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ หัวใจของการเรียนคือเราได้เห็นเด็กสนุกกับการเรียน จึงนับว่าเด็กๆกลุ่มนี้มีการพัฒนาที่ดีเยี่ยม”
ครูศยามลค้นพบแล้วว่า เทคนิคการสอนด้วยการจับ “ชอล์คและทอล์ค” หรือหยิบชอ์ล์คแล้วเขียนกระดานดำอธิบาย อาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในยุคปัจจุบัน ตอนนี้ในชั้นเรียนของครูศยามล เราจะเห็นนักเรียนก้าวเข้ามาในห้องเรียน และเริ่มต้นทำการทดลองเพื่อหาคำตอบและนำเสนอผลลัพธ์หน้าชั้นเรียน
ความมหัศจรรย์ของวิชาวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจโดยคนเป็นครู แม่พิมพ์ของชาติ ผู้สร้างกำลังพลสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นสืบต่อไป
หากบริษัทของท่านประสงค์เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาการศึกษาไทย โปรดติดต่อเราโดยกรอกรายละเอียดของท่านด้านล่างนี้