Community

โอกาสของผู้ประกอบการสตรีในการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทใหญ่

ม.ค. 26,2023

Thai female smes

ภายใต้สภาวะการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ซึ่งยืดเยื้อกว่า 2 ปีแล้ว และเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อธุรกิจในทุกระดับ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ซึ่งมีพันธกิจที่จะพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ภายใต้โครงการ Promoting Economic Empowerment of Women at Work in Asia ‐ WeEmpowerAsia Thailand’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันความเท่าเทียมทางเพศอันส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ

ตลอดการดำเนินโครงการ 20 เดือนที่ผ่านมา มูลนิธิคีนันฯได้พัฒนาหลักสูตรเสริมแกร่งพลังสตรี (Women’s Empowerment Principles – WEPs) จากองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ  มาพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 400 องค์กร และทำการฝึกอบรมผู้ประกอบการสตรี (women-owned business) ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกือบ 200 องค์กร ในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทใหญ่

ทั้งนี้ทางโครงการมีนโยบายที่จะผลักดันผู้ประกอบการสตรี เข้าสู่เครือข่ายห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อที่ใส่ใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Responsive Procurement) ซึ่งนโยบายนี้เป็นนโยบายที่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ให้ความสนใจอย่างมาก และเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการสตรี

สำหรับการดำเนินการ ส่งเสริมกระบวนการจัดซื้อที่ใส่ใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เพิ่งริเริ่มในประเทศไทยนั้น คีนันฯ มีการดำเนินการดังนี้

  1. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในการกำหนด คำจำกัดความของผู้ประกอบการสตรี ทั้งเกณฑ์ความเป็นเจ้าของ การถือหุ้น และการบริหารงาน ซึ่ง สสว. กำลังพิจารณาและกำหนดเกณฑ์อย่างเป็นรูปธรรมในปีนี้ ทั้งนี้ สสว.มีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในการเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
  2. ฝึกอบรม บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในหลักการเสริมแกร่งพลังสตรี ข้อที่ 5 กระบวนการจัดซื้อที่ใส่ใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ กว่า 400 องค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรกำหนดนโยบายในการ ส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรี อย่างชัดเจน
  3. ฝึกอบรม ผู้ประกอบการสตรี ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 200 ราย ในด้านโมเดลธุรกิจ การก้าวข้ามอคติทางเพศในการดำเนินธุรกิจ การเข้าถึงบริการทางการเงิน และเทคนิคการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่
  4. การเชื่อมโยง บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการสตรี ผ่านกระบวนการเจรจาธุรกิจ ซึ่ง คีนันฯ ได้ริเริ่มให้มีการนำเสนอแผนธุรกิจ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการสตรีที่มีแนวคิดธุรกิจที่โดดเด่นจำนวน 6 กิจการ (จากจำนวนผู้สมัคร 45 ราย) เพื่อนำเสนอต่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม บริษัทอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในวันที่ 16 มีนาคมนี้

ทั้งนี้ ทางคีนันฯ ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการสตรีร่วมสังเกตการณ์ กิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อเรียนรู้และสร้างโอกาสในการเข้าสู่เครือข่ายห่วงโซ่อุปทานของบริษัทข้ามชาติ ได้จาก Facebook Page ของเราที่ www.facebook.com/KenanThailand/

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

ดร.วิชัย ลิมปิติกรานนท์ ผู้จัดการอาวุโส มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และผู้จัดการ โครงการ WeEmpower Asia   ซึ่งคีนัน ฯ มีบทบาทในการพัฒนา เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก สมาชิกชุมชน  ผ่านโครงการเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการบริหารโครงการ สร้างความเป็นหุ้นส่วน จากพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพหุภาคี

Share this article

Latest.

People at Kenan: คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล

การศึกษาคือรากฐานสำคัญของ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ

“ชีวิตที่ถูกค้นเจอ” ผ่านโครงการ WE Inspire ประกายฝันปั้นหญิง

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการคาดเ