Blog (TH)

เรื่องราวความสำเร็จของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการโบอิ้ง ยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี

ม.ค. 26,2023

หนึ่งในบทบาทสำคัญของการศึกษา คือการเตรียมความพร้อมเยาวชนด้วยการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ในขณะที่การศึกษาของประเทศไทยในอดีตกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังการคิดเชิงวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหามากนัก ขณะเดียวกันแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนการสอนก็มีจำกัดและไม่ทั่วถึง ดังเช่นตัวอย่างของณัฐวุฒิ โหยหวน นักเรียนจากโรงเรียนวัดโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก

นับตั้งแต่ปี 2552 มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนนุของโบอิ้ง ได้ดำเนินโครงการโบอิ้ง ยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี (Technology Enhance Learning: TEL) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปใช้ในเรียนรู้ และได้ค้นพบถึงข้อจำกัดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในโรงเรียน ในปี 2559 ที่ผ่านมาทางโครงการได้ให้ความสำคัญกับการทำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-based Learning: PBL) โดยมีโรงเรียนวัดโพธิ์แทนเป็นหนึ่งใน โรงเรียนจำนวน 21 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ

โรงเรียนวัดโพธิ์แทนนี้ประสบปัญหาเช่นเดียวกับโรงเรียนขนาดเล็กอื่นๆ ทั่วประเทศ นั่นคือ ไม่สามารถแข่งขันกับโรงเรียนขนาดใหญ่ เหลือไว้เพียงเด็กๆ ที่มีข้อจำกัดด้านผลการเรียนหรือกำลังของครอบครัวทำให้ไม่สามารถไปเรียนต่อในโรงเรียนใหญ่ๆ ได้ นักเรียนหลายคนเป็นรุ่นแรกของครอบครัวที่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน จึงฝากความหวังไว้กับโรงเรียนว่าจะเป็นโอกาสในการสร้างความก้าวหน้าและหลุดพ้นจากวัฏจักรความจน การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL และเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กๆ เหล่านี้ และช่วยให้เขามีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
ณัฐวุฒิ เป็นนักเรียนคนหนึ่งที่มีโอกาสใช้ PBL ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน “เราออกแบบเครื่องมือดักกบเพื่อใช้ในการจับปลาของครอบครัว ซึ่งปกติจะใช้กบเป็นเหยื่อล่อปลาตัวใหญ่ๆ ขวดที่พวกเราออกแบบขึ้นสามารถจับกบได้ถึง 50 ตัว” ทั้งนี้นครนายกเป็นแหล่งปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ นวัตกรรมของณัฐวุฒิแม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ แต่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนได้เป็นอย่างดี ทำให้เขาเกิดความมั่นใจในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของตนเองว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้

โรงเรียนวัดโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวคิดของคีนันและตอบรับกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่งเวลารู้ ของกระทรวงศึกษาธิการได้เป็นอย่างดี ประกอบกับวิธีการสอนและการสอดแทรกเทคโนโลยีได้ช่วยปลูกฝังองค์ความรู้และทักษะต่างๆ อาทิ การคิดเชิงวิเคราะห์ การวื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

“ความคิดสร้างสรรค์สำคัญไม่แพ้ความรู้”– Sir Ken Robinson

Subscribe to our monthly newsletter


Share this article

Latest.

ความมั่นคงทางอาหารของเวียดนามในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

จากการประชุมสุดยอดอาหารโล

ต่อยอดเส้นทางอาชีพ เติมเต็มศักยภาพ กับโครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

จากการดำเนินโครงการเตรียม

เส้นทางสู่ความฝัน ของ ดาศิตรา ปาเละ (Dasitra Pale) ผู้ชนะเลิศการประกวดการนำเสนอแบบสั้น โครงการเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพ (Youth Employability Skills and Pathways)

บนเส้นทางความฝัน ของ ดาศิ